Translate

วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แนวคิดประชาคมเอเชียตะวันออก

แนวคิดประชาคมเอเชียตะวันออก





            คำว่า "ประชาคม" นั้นจะต้องมีการเคลื่อนย้าย แรงงาน เงินทุน ปัจจัยการผลิตได้อย่างเสรี และจะต้องมี "อัตลักษณ์" (identity) ร่วมกันภายในกลุ่ม


แนวความคิดที่ 1 ของ "ประชาคมเอเชียตะวันออก" นั้น ต้องย้อยกลับไปเมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะแนวคิดนี้ ดันตรงกับแนวคิดของ จักรวรรดิ์ญี่ปุ่นในสมัยนั้น นั่นก็คือ "เอเชียเพื่อเอเชีย" ชึ่งก็คือ "วงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา" (The Greater East Asia) นั้นเอง


ที่จะมีการรวมเอา "คนเอเชีย" ทั้งหมด ซึ่งก็คือพวก คนเอเชีย มองโกลอยด์ (Mongoloid) ที่มีลักษณะ ผมดำหยาบ และเหยียดตรง มีขนตามร่างกายค่อนข้างน้อย นัยน์ตามี ตาเรียว ขนาดเล็กและมีสีดำหรือสีน้ำตาล ผิวสีเหลือง น้ำตาลอ่อนจนถึงน้ำตาลเข้ม หน้ากว้าง จมูกเล็ก เข้ามาไว้รวมกัน ซึ่งแนวคิด "วงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา" จะมี ญี่ปุ่น จีน เกาหลี มองโกเลีย เนปาล ภูฎาน ไต้หวัน อินโดจีน(ลาว เวียดนาม กัมพูชา) ไทย พม่า มาเลเชีย อินโดนีเชีย ฟิลิปินส์ สิงคโปร์ บรูไน เข้ามาอยู่ด้วยกัน ตามแนวคิด "เอเชียเพื่อเอเชีย" แต่แนวคิดนี้ก็ต้องจบไป เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2

มาในสมัยปัจจุบัน เมื่อมีความพยายาม รวมตัวกันของอาเซียน 10 ประเทศ และได้เชิญ อีก 3 ประเทศ คือ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ภายใต้ชื่อ อาเซียน+3 ซึ่งทำให้แนวคิด "เอเชียเพื่อเอเชีย" กลับมาอีกครั้ง


แนวคิด อาเซียน+3 เป็นแนวความคิดของผู้นำ มาเลเชีย ในตอนนั้น ซึ่งก็คือ ดร.มหาธีร์ โมฮัมหมัด ท่านมองว่าแนวคิดนี้ มีความเป็นไปได้ และเหตุที่ต้องรวมกัน นั้นเพราะวิกฤติต้มยำกุ้ง ปี 2540 เป็นสำคัญ แต่ทว่าแนวคิดนี้ กลับได้รับการคัดค้านจาก อเมริกา อย่างหนัก เพราะอเมริกาไม่อยากให้เอเชียรวมตัวกัน หากรวมกันได้ ก็จะเป็นภัยคุกคามทางด้านเศรษฐกิจ อีกทั้งยังเป็นคู่แข่งทางการเมืองของอเมริกาได้

ส่วนแนวคิดที่ 2 แนวคิดของประชาคมเอเชียตะวันออก ที่พอจะย้อนกลับไปได้ ก็คือ แนวคิด "จักรวรรดิฉิน" ในอดีต ที่ "ฉิน" จะถือว่า รัฐใดๆก็ตามที่ ส่งเครื่องราชบรรณาการ (จิ้มก้อง) ให้ จีนจะถือว่า รัฐๆนั้น ยอมรับในอำนาจของจีน และจีนจะถือว่า รัฐๆนั้น เป็น "รัฐบรรณาการของจีน" หรือ "จักรวรรดิจีน" แม้ว่าจะมีข้อโตแย้งว่า การที่รัฐต่างๆในอาเซียน ส่งบรรณาการให้จีนนั้น เป็นเพื่อการค้าต่างหาก แต่จีนเขาไม่คิดเช่นนั้น

"แม้ผู้เขียนจะไม่ค่อยชอบแนวคิดนี้" แต่ก็จำเป็นต้องยกมา เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงมุมมอง หรือทัศนคติ ของทั้ง ญี่ปุ่น และจีน ต่อพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งทั้ง จีน และญี่ปุ่น ถือว่า เป็นเขตอิทธิพลของตัวเอง สรุปคือทัศนคติของจีนและญี่ปุ่นพอๆกันเลย

อนึ่ง อเมริการู้ว่า การร่วมกลุ่มเป็นประชาคมได้นั้น จำเป็นต้องใช้ "อัตลักษณ์" ที่เหมือนกันภายในกลุ่มร่วมกัน เอเชียมีลักษณะ ความเป็น คนมองโกลอยด์ ความเป็นคนเอเชียร่วมกัน ส่วนตะวันออกกลาง ก็มีอัตลักษณ์ร่วมกันก็คือ ภาษาอาหรับ

เพราะฉนั้น อเมริกาจะไม่ยอมให้ ทั้ง อาหรับ หรือ เอเชียตะวันออก รวมตัวกันได้ ซึ่งในส่วนของ อาหรับ ที่มีการรวมตัวกันแบบหลวมๆอยู่ก่อนแล้ว อเมริกาจึงได้เข้าไปสร้างความขัดแย้ง จนประเทศในอาหรับรวมตัวกันไม่ติด ซึ่งก็ได้ผลดีเยี่ยม

แต่เอเชียนั้นต่างกัน ในเอเชีย อเมริกา พยายามสร้างความขัดแย้ง ทั้ง ในกรณี ไต้หวัน กับ จีน กรณี เกาหลีเหนือ และล่าสุดในการประชุมอาเซียนที่ภูเก็ต ประเด่นพม่า ที่นาง ฮิลลารี่ คลินตั้น พยายามจะบอกกับอาเชียน โดยเน้นหนักมาที่ ประเทศไทย ว่า พม่า อาจจะกำลังพัฒนาอาวุทธนิวเครียร์อยู่ แต่เอเชีย ก็ยังไม่รบกับแบบอาหรับ ซักที และสิ่งแอบแฝงมา นั้นก็เพื่อให้อาเซียน โดยเฉพาะเน้นมาที่ไทย ให้ไม่ไว้ใจพม่า ซึ่งจะทำให้อาเซียนมีปัญหาได้


อเมริกาไปที่ไหน ก็วุ่นวายที่นั้นจริงๆ ปัจจุบันนิวเครียร์ ใน อิรัค ชาวโลกก็รู้แล้วว่าแหกตา แต่ยังทำมึนไปได้เรื่อยๆ 

การรวมกลุ่มของ เอเชียตะวันออก ไม่ใช่อยู่ดีๆ ก็เกิดขึ้นได้ แต่มันมีสาเหตุผลักดันที่น่าสนใจก็คือ "วิกฤติต้มยำกุ้ง" ปี 2540 ที่ประเทศไทยโดนโจมตีค่าเงินบาท โดยกลุ่มทุนจากตะวันตก ซึ่งถือได้ว่า เป็นการปล้นทางเศรษฐกิจครั้งสำคัญ

อเมริกา ในฐานนะพันธมิตรนอกนาโต้ กลับยืนมอง ไทย ให้ล้มไปซะเฉยๆ แบบปากบอกจะช่วย แต่ก็ไม่ได้ช่วยอะไรเลย เมื่อ ไทย ล้ม อินโดนีเซีย ก็ล้มตาม ตามด้วย เกาหลีใต้ ฟิลิปินส์ มาเลเซีย ก็หนัก ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศในฐานนะผู้ให้กู้รายใหญ่ในเอเชีย ก็ปวดหัว เพราะลูกหนี้ไม่มีเงินจ่าย ส่วน จีน ในตอนนั้น ไม่ยอมลดค่าเงินของตัวเอง เพื่อช่วย อาเชียน และเอเชีย จีนจึงเป็นที่เกรงใจ ต่อประเทศใน อาเซียน ในเวลาต่อมา


ไทย อินโดนีเชีย และเกาหลีใต้ ต้องเข้าโครงการ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF โดย IMF ให้เงินมา 1 ก้อน และบังคับให้ ทั้ง 3 ประเทศ ลดการใช้จ่ายทางการเงินภาครัฐ และต้องปล่อยให้ธนาคารที่อ่อนแอล้ม นั้นหมายความว่า ไม่มีการลงทุนจากภาครัฐ และธุรกิจธนาคารพังทลาย เครื่องจักรสำคัญทางเศรษฐกิจ ตัวสำคัญหายไป ซะเฉยๆ 1 ตัว ผลจากนั้น ก็คือ กลุ่มทุนตะวันตก เข้ามาซื้อ กิจการของไทย และเอเชีย เกือบหมดในตอนนั้น คิดแล้วน่าเจ็บใจ


ส่วนประเทศ มาเลเชีย นำโดย ดร.มหาธีร์ โมฮัมหมัด เก่งมาก และรู้ทัน ไม่ยอมเข้าโครงการ IMF และ รัฐบาลมาเลเซีย ได้เร่งการลงทุนภาครัฐ และตรึงค่าเงินเพื่อลดความผันผวน ผลก็คือ มาเลเชีย ฟื้นตัวเร็วที่สุด อีกทั้ง ไม่ต้องเป็นหนี้อีก เพราะความจริง เงินของ IMF ก็คือเงินของเอเชียทั้งนั้น ตะวันตก เอาเงินของ เอเชีย มาเป็นหนี้ให้ เอเชีย ซะงั้น พูดง่ายๆ ก็คือ เป็นหนี้ของเงินตัวเอง

ตอนนั้น คนไทย มีความรู้สึกแย่กับ อเมริกามาก และเหมือน ตบหัวแล้วลูบหลัง อเมริกาขายเครื่องบิน F-16 ADF แบบถูกๆให้ไทย มาหนึ่งฝูง แต่ตอนหลังจากนั้น ไทยไม่ซื้อ เครื่องบินจากอเมริกาอีก ไทยไปซื้อของสวีเดน เป็นเครื่องบิน รุ่น JAS-39 เมื่ออเมริการู้ข่าว จึงส่งจดหมายทางการมาว่า "อเมริกาไม่เข้าใจ ว่าทำไมประเทศไทย ที่ชื้อเครื่องบิน และระบบอาวุทธของอเมริกา แบบผูกขาดมาโดยตลอด ทำไมจึงได้ตัดสินใจชื้อเครื่องบินของสวีเดน"


ความจริงปรากฎอีกครั้ง เมื่อปี 2552 เกิด "วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์" อเมริกากลับทำทุกอย่าง ที่ตรงกันข้ามกับ ที่ IMF เคยสั่งให้ ไทย ทำเมื่อปี 2540 นั่นคือเร่งใช้จ่ายภาครัฐ ลดดอกเบี้ย ตรึงค่าเงิน ประครองธนาคารใหญ่ ไม่ให้ล้ม และรักษาระบบการเงินการธนาคารเอาไว้ 

สุดท้าย เอเชีย เมื่อได้เห็นแบบนั้น ก็รู้สึกไม่ดีกับ IMF มากขึ้น และในปี 2552 เอเชีย เลยจัดการตั้ง "กองทุนการเงินเอเชีย" หรือ AMF ขึ้นมา แล้วส่งเงินเข้า IMF ให้น้อยลง ผลคือ IMF ขาดเงิน เพราะเงินทุนส่วนใหญ่ เป็นของเอเชีย

ความจริง AMF เป็นข้อเสนอของญี่ปุ่น นำเสนอที่เชียงใหม่ เมื่อปี 2542 แต่ทว่าอเมริกาคัดค้านหนัก เพราะกลัวว่าจะไปแย่งบทบาทของ IMF ที่อเมริกา เอาเงินของ เอเชีย ไปทำเป็นเจ้าของอยู่ เรื่องเลยเงียบไป เพราะญี่ปุ่นเกรงใจอเมริกา 


เอาละ ทีนี้ มาพูดถึง "ประชาคมเอเชียตะวันออก" กันบ้าง ว่าควรจะมีประเทศอะไรอยู่บ้าง


กรอบที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดก็คือ "อาเซียน+3" เพราะมีอัตลักษณ์ร่วมกัน นั้นคือ "คนเอเชียมองโกลอยด์" 


ส่วนกรอบ อาเซียน+6 กรอบนี้ ไม่มีทางเป็นไปได้ เพราะ ไม่มี "อัตลักษณ์" ร่วมกัน คงเป็นได้แค่ ประชาคมเฉพาะด้านเศรษฐกิจ แบบไม่มีการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเสรี


เพราะ คนไทยเอง ก็อาจจะไม่ค่อยสบายใจนัก ที่มีคนหน้าตาออกแนวอาหรับ อินเดีย ที่อาจจะรู้สึกไม่คุ้นเคย เดินไปเดินมาในกรุงเทพฯ เป็นจำนวนมาก ในฐานนะแรงงานเสรีของประชาคม แต่หากเป็นคน พม่า ลาว กัมพูชา จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย แม้ว่า เขาจะเดินไปเดินมาในกรุงเทพ ในฐานนะแรงงานเสรีเช่นกัน เราก็จะดูไม่ออกเลยว่าเขาไม่ใช่คนไทย แต่หากเขาพูดไทยได้อีก ก็แยกไม่ออกไปกันใหญ่ สิ่งนี้ในทาง อัตลักษณ์ เรียกว่า "ความกลมกลื่น" (Similarity)

ส่วน ออสเตรเลีย ก็มีปัญหาเรื่อง การเหยียดผิวคนเอเชียมาก ใครเคยไปอยู่ออสเตรเลีย คงจะรู้ แม้ว่า ปัจจุบัน ออสเตรเลีย พยายามปรับภาพลักษณ์ใหม่ว่าเป็นมิตร กับเอเชีย แต่แล้ว ความจริง ที่ซ่อนอยู่ลึกๆ ในหัวใจ ของคนออสเตรเลีย ก็ปรากฎ เมื่อ พรรคการเมืองหนึ่ง ที่ต่อต้าน คนเอเชีย ได้รับการเลือดตั้งแบบถล่มทลาย


คนออสเตรเลีย มองว่า คนเอเชีย ด้อยพัฒนา และโง่กว่าคนขาว นั้นเพราะยังติดภาพว่า เอเชีย คืออาณานิคมของคนขาว



แต่ปัจจุบัน ความจริงอันน่า เจ็บปวดสำหรับ คนออสเตรเลีย ก็คือ ออสเตรเลีย พึ่งพาเอเชีย และหนีเอเชียไม่พ้น แม้จะไม่พูอออกมา แต่ลึกๆนั้น ยังมีคนออสเตรเลียจำนวนไม่น้อย ที่ไม่ต้องการให้ คนเอเชีย ไปเดินปะปนกับพวกเขา ในฐานนะคนร่วมประเทศ มันเป็นความคิดที่ฝังหัวของเขามานาน คงต้องใช้เวลา อีกนาน กว่าจะปรับได้

แล้วอย่างนี้ กรอบ อาเซียน+6 มันจะเป็นกลายเป็น ประชาคมเอเชียตะวันออก ได้อย่างไร อีกทั้ง หากใช้กรอบ อาเซียน+6 มีแนวโน้มว่า ออสเตรเลีย จะไปดึง อเมริกา เข้ามาด้วย กลายเป็น ประชาคมเอเชียแปซิฟิก สมใจออสเตรเลียแน่นอน แล้วก็อาจจะมีบางประเทศไปดึง รัฐเชีย มาอีก แล้วถ้าหาก อเมริกา เข้ากลุ่มมาได้ ประเทศไหนจะกล้าไล่ อเมริกา ออกจากกลุ่ม หาก จีน รัฐเซีย อเมริกา เป็นประชาคมเดียวกัน คงดูไม่จืดแน่ๆ


ย้อยกลับไปที่ อเมริกา หลังจากที่ได้สร้างความเจ็บปวด ทางเศรษฐกิจให้กับประเทศในเอเชีย เมื่อปี 2540 หลังจากนั้น อเมริกา ก็ไปวุ่นวายกับสงครามในอาหรับ และได้ทิ้งเอเชียไปเลย จน 10 กว่าปีให้หลัง อเมริกาคิดจะกลับมาหา เอเชีย เพราะเริ่มนึกได้ว่า ภูมิภาคนี้ ขนาดเศรษฐกิจ และขนาดประชากรมหาศาล แต่การกลับมาครั้งนี้แทบไม่มีเวทีให้ยืน เพราะ APEC ที่อเมริกาควบคุม ได้หมดความน่าเชื่อถือไปแล้วตั้งแต่ปี 2540 จนเวทีนี้ กลายเป็นแค่เวที "คุยกันเล่นๆ" เท่านั้น


ส่วนองค์กร "อาเซียน" ที่ยังคงเป็นองค์กรที่มีพลัง และทำงานได้อยู่ ในกรอบใหม่ของ อาเซียนคือ กรอบอาเซียน+3 และกรอบอาเซียน+6 กลับไม่มี อเมริกา ซึ่งได้สร้างความแปลกใจให้กับ อเมริกา พอสมควร จากนั้นอเมริกา ก็พยายามแก้เกมส์ โดยการสร้างกรอบใหม่ๆ มาแข่งขันกับ อาเซียน ทั้ง G20 APEC ECS และกรอบอื่นๆ ซึ่งก็คงดูกันต่อไป แต่จะบอกว่า กรอบพวกนี้ แทบจะไม่มี "อัตลักษณ์" เอาเสียเลย แล้วจะพัฒนาให้เป็นองค์กรที่ active (ทำงานได้ มีผลทางกฎหมาย) ได้อย่างไร



แม้ว่ากรอบ อาเซียน+3 ญี่ปุ่นจะไม่ค่อยชอบ เพราะกลัวว่าจีนจะคุม แต่ ญี่ปุ่นลืมนึกไปว่า ค่านิยม ของอาเชียนคือ ฉันทามติ และอาเซียน หากจะไปเป็น ประชาคมเอเชียตะวันออก ก็จะไปในนาม อาเซียน จะไม่แยกไปเดียวๆ จีนคงคุมอาเซียนไม่ได้ง่ายๆ 



บางที่ "ประชาคมอาเซียน" หรือ "ประชาคมเอเชียตะวันออก" อาจจะพัฒนาไปเป็น "สหภาพเอเชียตะวันออก" ไปเลยก็ได้


สรุปคือ "ประชาคมเอเชียตะวันออก" กรอบที่เป็นไปได้คือ "กรอบอาเชียน+3" (อาจรวมเกาหลีเหนือ ไต้หวัน มองโกเลีย เนปาล ภูฎาน ในอนาคต) อัตลักษณ์ของกรอบนี้คือ "คนเอเชีย มองโกลอยด์" เพราะอย่าลืมว่า ออสเตรเลีย เขาบอกกับเอเชียและโลกตลอดว่า เขาคือตะวันตกนะ เขาคือคนขาวนะ เขาไม่ใช่คนเอเชีย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น