Translate

วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เปิดแนวคิด ขอนแก่นมหานคร เมืองหลวงภาคอีสาน รับประชาคมอาเซียนปี 58


               เปิดแนวคิด ขอนแก่นมหานคร เมืองหลวงภาคอีสาน รับประชาคมอาเซียนปี 58



เปิดแนวคิด ขอนแก่นมหานคร เมืองหลวงภาคอีสาน รับประชาคมอาเซียนปี 58
 หลังจากที่ประเทศไทยประสบกับเหตุอุทกภัยครั้งร้ายแรง โดยเฉพาะเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานครที่สร้างความเสียหายต่อบ้านเรือน ประชาชน โรงงานอุตสาหกรรม ประเมินค่าเสียหายหลายร้อยล้านประเด็นหนึ่งที่มีการถูกหยิบยกมาพูดคุยกันก็คือ การสร้างเมืองหลวงในสถานที่แห่งใหม่ เพื่อรองรับ และสร้างความพร้อมในอนาคต เพราะหากกรุงเทพฯ เมืองฟ้าอมรของประเทศไทยยังคงประสบกับภัยน้ำท่วมอยู่เรื่อยมา คงต้องใช้งบประมาณมหาศาลในการฟื้นฟู
    
แต่ทว่า การย้ายเมืองหลวง อาจไม่าใช่การเปลี่ยนเมืองไปเสียทีเดียว แต่จะเป็นการกระจายอำนาจไปจังหวัดอื่นที่มีความเหมาะสม ซึ่งก่อนหน้านี้ แนวคิดย้ายเมืองหลวงมีมาตั้งแต่สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม และพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยได้ให้สภาพัฒน์ทำการศึกษาข้อมูลเบื้องต้น และเห็นว่าเป็นจังหวัดที่มีความเหมาะสมทั้งกายภาพ และภูมิศาสตร์ พื้นที่เป็นแนวลาดชัน เหมาะสมที่จะตั้งเป็นเมืองหลวง อาจจะตั้งเป็น “เมืองหลวง” หรือไม่ หรือจะให้เป็น “ศูนย์บริหารราชการ” ก็ได้

ความชัดเจนในเรื่องนี้เริ่มเห็นเค้าลางที่รัฐบาลเตรียมที่จะจัดตั้ง จังหวัดขอนแก่น เป็นเมืองหลวงของภาคอีสาน ให้เป็นศูนย์กลางลอจิสติกส์ การคมนาคมรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  Asean Economics Community หรือ AEC ในปี ค.ศ.2015 ที่จะมีผลโดยตรงกับประเทศไทย เพราะขอนแก่น เป็นใจกลางของภาคอีสานอย่างแท้จริง และกำลังพัฒนาจังหวัดตัวเองไปอย่างราบรื่น และไปในทางที่ดีในทุกๆปี

โดยผลักดันให้เป็นศูนย์กลางคมนาคม ทั้งด้านการบิน ทางรถยนต์-รถไฟ และศูนย์กระจายสินค้า เพราะมีศักยภาพเด่นทำเลที่ตั้งเป็นศูนย์กลางคมนาคมขนส่งทั้ง
ทางบก-มีโครงการรถเมล์ BRT
ทางอากาศ- คือ International Airport ที่ตั้งจังหวัดขอนแก่นเหมาะที่จะพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาค

การขนส่งผ่านระบบราง-คือ ศูนย์กลางขนส่งผ่านระบบราง โดยจะมีการพัฒนารถไฟรางคู่ผ่านจังหวัดขอนแก่น และตัดเส้นทางรถไฟเส้นใหม่ ขอนแก่น-นครพนม และการขนถ่ายสินค้าในภูมิภาคอาเซียน  โดยจะทำเป็นศูนย์ “Logistic Hub” ในประชาคมอาเซียน
โดยนักธุรกิจมองว่า เศรษฐกิจในภาคอีสานจะเติบโตเฉลี่ยดีกว่าภูมิภาคอื่นๆ เพราะมีปัจจัยพื้นที่ที่อำนวย และขอนแก่น เป็นเมืองใหญ่ในภาคอีสานนับตามจำนวนประชากรรองจาก โคราช และอุดรธานี ส่วนหากจะมีการรวมตัวเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และมีผลจริงๆจังๆ ณ วันที่ 1 มกราคม 2558 ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมาย ที่ไทยจะมีการลงทุนเสรี เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว คนอาเซียนจะเข้ามาประเทศไทยมากยิ่งขึ้น ฉะนั้นเรื่องภาษาอังกฤษ เป็นสิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมทักทายพูดคุย

นอกจากนี้ การค้าขายบริเวณชายแดนจะคึกคักอย่างมาก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมโรงแรม, การท่องเที่ยว, ร้านอาหาร, รถเช่า เนื่องจาก ด่านศุลกากรชายแดนมีบทบาทน้อยลง จากการที่ไทยได้เปรียบอยู่ตรงกลาง ทำให้เราค้าขายได้มากขึ้นเพราะเราจะส่งของไปท่าเรือทางซ้ายก็ได้ ทางขวาก็ได้ ความเจริญจึงเข้ามาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

การผลักดันให้ขอนแก่น เป็นศูนย์กลางการคมนาคม รับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป็นโครงการอภิมหาโปรเจคท์ที่ต้องใช้เงินลงทุนกว่า 216,000 ล้านบาท
แต่ก็ยังไม่มีการยืนยันว่าจะเป็นจริง และแล้วเสร็จได้อีกเมื่อไหร่ แต่หากรัฐบาลมีการเร่งผลักดันให้เกิดขึ้นจริง ขอนแก่นมหานคร จะกลายเป็นเมืองหลวงภาคอีสาน ที่มีการกระจายอำนาจจากกรุงเทพฯสู่ภูมิภาคได้เป็นอย่างดี

และต้องจับตาดูว่า ในการข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่จะถึงนี้ ขอนแก่น จะมีการพัฒนาไปในทิศทางใด
เขียนโดย nattawat_86 โพสต์เมื่อ วันอาทิตย์ที่ 1 เมษายน 2555 เนื้อหานี้อยู่ในหมวด ข่าวเด่นประจำวันสกู๊ปข่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น