Translate

วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) หรือธรรมนูญอาเซียน


กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) หรือธรรมนูญอาเซียน


กฎบัตรอาเซียน เปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของอาเซียนที่จะทำให้อาเซียนมีสถานะเป็นนิติบุคคล เป็นการวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรให้กับอาเซียน โดยนอกจากจะประมวลสิ่งที่ถือเป็นค่านิยม หลักการ และแนวปฏิบัติในอดีตของอาเซียนมาประกอบกันเป็นข้อปฏิบัติอย่างเป็นทางการของประเทศสมาชิกแล้ว ยังมีการปรับปรุงแก้ไขและสร้างกลไกใหม่ขึ้น พร้อมกำหนดขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบขององค์กรที่สำคัญในอาเชียนตลอดจนความสัมพันธ์ในการดำเนินงานขององค์กรเหล่านี้ ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนให้สามารถดำเนินการบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวของประชาคมอาเซียน ให้ได้ภายในปี พ.ศ.2558 ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้
ทั้งนี้ผู้นำอาเซียนได้ลงนามรับรองกฎบัตรอาเซียน ในการประชุมสุดยอดยอดเซียน ครั้งที่ 13เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2550 ณ ประเทศสิงคโปร์ ในโอกาสครบรอบ 40 ของการก่อตั้งอาเซียน แสดงให้เห็นว่าอาเซียนกำลังแสดงให้ประชาคมโลกได้เห็นถึงความก้าวหน้าของอาเซียนที่กำลังจะก้าวเดินไปด้วยกันอย่างมั่นใจระหว่างประเทศสมาชิกต่าง ๆ ทั้ง 10 ประเทศ และถือเป็นเอกสารประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญที่จะปรับเปลี่ยนอาเซียนให้เป็นองค์กรที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลในฐานะที่เป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล ประเทศสมาชิกได้ให้สัตยาบันกฎบัตรอาเซียน ครบทั้ง 10 ประเทศแล้วเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน2551 กฎบัตรอาเซียนจึงมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค. 2551 เป็นต้นไป

วัตถุประสงค์ของกฎบัตรอาเซียน
วัตถุประสงค์อของกฎบัตรอาเซียน คือ ทำให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประสิทธิกาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเคารพกฎกติกาในการทำงานมากขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรอาเซียนจะให้สถานะนิติบุคคลแก่อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล (intergovernmental organization)
โครงสร้างและสาระสำคัญของกฎบัตรอาเซียน
กฏบัตรอาเชียน ประกอบด้วยบทบัญญัติ 13 หมวด 55 ข้อ ได้แก่
หมวดที่ 1 ความมุ่งประสงค์และหลักการของอาเซียน
หมวดที่ 2 สภาพบุคคลตามกฏหมายของอาเชียน
หมวดที่ 3 สมาชิกภาพ (รัฐสมาชิก สิทธิและพันธกรณีของรัฐสมาชิก และการรับสมาชิกใหม่
หมวดที่ 4 โครงสร้างองค์กรของอาเซียน
หมวดที่ 5 องค์กรที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียน
หมวดที่ 6 การคุ้มกันและเอกสิทธิ์
หมวดที่ 7 กระบวนการตัดสินใจ
หมวดที่ 8 การระงับข้อพิพาท
หมวดที่ 9 งบประมาณและการเงิน
หมวดที่ 10 การบริหารและขั้นตอนการดำเนินงาน
หมวดที่ 11 อัตลักษณ์และสัญลักษณ์ของอาเซียน
หมวดที่ 12 ความสัมพันธ์กับภายนอก
หมวดที่ 13 บทบัญญัติทั่วไปและบทบัญญัติสุดท้าย
กฎบัตรอาเชียนช่วยให้อาเซียนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เสริมสร้างกลไกการติดตามความตกลงต่างๆ ให้มีผลเป็นรูปธรรม และผลักดันอาเซียนให้เป็นประชาคมเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง
กฎบัตรอาเชียนช่วยให้อาเซียนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้อย่างไร มีข้อกำหนดใหม่ๆ ที่ช่วยปรับปรุงโครงสร้างการทำงานและกลไกต่างๆ ของอาเซียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเพิ่มความยืดหยุ่นในการแก้ไขปัญหา เช่น
1. กำหนดให้เพิ่มการประชุมสุดยอดอาเซียนจากเดิมปีละ 1 ครั้ง เป็นปีละ 2 ครั้ง เพื่อให้ผู้นำมีโอกาสหารือกันมากขึ้น พร้อมทั้งแสดงให้เห็นถึงเจตจำนงทางการเมืองที่จะผลักดันอาเซียนไปสู่การรวมตัวกันเป็นประชาคมในอนาคต
2. มีการตั้งคณะมนตรีประจำประชาคมอาเซียนตามเสาหลักทั้ง 3 ด้าน คือ การเมืองความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
3. กำหนดให้ประเทศสมาชิกแต่งตั้งเอกอัคราชฑูตประจำอาเซียนไปประจำที่กรุงจาการ์ตา ซึ่งไม่เพียงแต่จะแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจแนวแน่ของอาเซียนที่จะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อมุ่งไปสู่การรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียนในอนาคต และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปร่วมประชุมและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการประสานงานระหว่างประเทศสมาชิก
4. หากประเทศสมาชิกไม่สามารถตกลงกันได้โดยหลักฉันทามติ ให้ใช้การตัดสินใจรูปแบบอื่นๆ ได้ตามที่ผู้นำกำหนด
5. เพิ่มความยืดหยุ่นในการตีความหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายใน โดยมีข้อกำหนดว่าหากเกิดปัญหาที่กระทบต่อผลประโยชน์ส่วนร่วมของอาเซียน หรือเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน ประเทศสมาชิกต้องหารือกันเพื่อแก้ปัญหา และกำหนดให้ประธานอาเซียนเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

กฎบัตรอาเซียนจะเสริมสร้างกลไกการติดตามความตกลงต่างๆ ให้มีผลเป็นรูปธรรมได้อย่างไร
กฎบัตรอาเซียนสร้างกลไกตรวจสอบและติดตามการดำเนินการตามความตกลงต่างๆ ของประเทศสมาชิกในหลากหลายรูปแบบ เช่น
1. ให้อำนาจเลขาธิการอาเซียนดูแลการปฏิบัติตามพันธกรณีและคำตัดสินขององค์กรระงับข้อพิพาท
2. หากการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงต่างๆ ทำให้เกิดข้อพิพาทระหว่างรัฐสมาชิกสามารถใช้กลไกและขั้นตอนระงับข้อพิพาททั้งที่มีอยู่แล้ว และที่จะตั้งขึ้นใหม่เพื่อแก้ไขข้อพิพาทที่เกิดขึ้นโดยสันติวิธี
3. หากมีการละเมิดพันธกรณีในกฎบัตรฯ อย่างร้ายแรง ผู้นำอาเซียนสามารถกำหนดมาตรการใดๆ ที่เหมาะสมว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อรัฐผู้ละเมิดพันธกรณีกฎบัตรอาเซียนช่วยให้อาเซียนเป็นประชาคมเพื่อประชาชนได้อย่างไรข้อบทต่างๆ ในกฎบัตรอาเซียนแสดงให้เห็นว่าอาเซียนกำลังผลักดันองค์กรให้เป็นประชาคมเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง จึงกำหนดให้การลดความยากจนและลดช่องว่างการพัฒนาเป็นเป้าหมายหนึ่งของอาเซียนกฎบัตรอาเซียนเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนและภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในอาเซียนผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรต่างๆ ของอาเซียนมากขึ้น ทั้งยังกำหนดให้มีความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับสมัชชารัฐสภาอาเซียน ซึ่งเป็นองค์กรความร่วมมือระหว่างรัฐสภาของประเทศสมาชิกกำหนดให้มีการจัดตั้งกลไกสิทธิมนุษยชนของอาเซียน เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน

ความสำคัญของกฎบัตรอาเซียนต่อประเทศไทย
กฎบัตรอาเซียน ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามพันธกรณีต่างๆ ของประเทศสมาชิก ซึ่งจะช่วยสร้างเสริมหลักประกันให้กับไทยว่า จะสามารถได้รับผลประโยชน์ตามที่ตกลงกันไว้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย นอกจากนี้ การปรับปรุงการดำเนินงานและโครงสร้างองค์กรของอาเซียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และการเสริมสร้างความร่วมมือในทั้ง 3 เสาหลักของประชาคมอาเซียนจะเป็นฐานสำคัญที่จะทำให้อาเซียนสามารถตอบสนองต่อความต้องการและผลประโยชน์ของรัฐสมาชิก รวมทั้งยกสถานะและอำนาจต่อรอง และภาพลักษณ์ของประเทศสมาชิกในเวทีระหว่างประเทศได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะเอื้อให้ไทยสามารถผลักดันและได้รับผลประโยชน์ด้านต่างๆ เพิ่มมากขึ้นด้วย ตัวอย่างเช่น
- อาเซียนขยายตลาดให้กับสินค้าไทยจากประชาชนไทย 60 ล้านคน เป็นประชาชนอาเซียนกว่า 550 ล้านคน ประกอบกับการขยายความร่วมมือเพื่อเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐาน เช่น เส้นทางคมนาคม ระบบไฟฟ้า โครงข่ายอินเตอร์เน็ต ฯลฯ จะช่วยเพิ่มโอกาสทางการค้าและการลงทุนให้กับไทย
นอกจากนี้ อาเซียนยังเป็นทั้งแหล่งเงินทุนและเป้าหมายการลงทุนของไทย และไทยได้เปรียบประเทศสมาชิกอื่นๆ ที่มีที่ตั้งอยู่ใจกลางอาเซียน สามารถเป็นศูนย์กลางทางการคมนาคมและขนส่งของประชาคม ซึ่งมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ และบุคคล ระหว่างประเทศสมาชิกที่สะดวกขึ้น
- อาเซียนช่วยส่งเสริมความร่วมมือในภูมิภาคเพื่อเผชิญกับภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนโดยตรง เช่น SARs ไข้หวัดนก การค้ามนุษย์ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ หมอกควัน ยาเสพติดปัญหาโลกร้อน และปัญหาความยากจน เป็นต้น
- อาเซียนจะช่วยเพิ่มอำนาจต่อรองของไทยในเวทีโลก และเป็นเวทีที่ไทยสามารถใช้ในการผลักดันให้มีการแก้ไขปัญหาของเพื่อนบ้านที่กระทบมาถึงไทยด้วย เช่น ปัญหาพม่า ในขณะเดียวกันความสัมพันธ์พหุภาคีในกรอบอาเซียนจะเกื้อหนุนความสัมพันธ์ของไทยในกรอบทวิภาคี เช่น ความร่วมมือกับมาเลเซียในการแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้ด้วย


อ่านต่อ: http://www.thai-aec.com/asean-charter#ixzz252gwXa3b

ที่มา: ประชาคมอาเซียน.net

แนวคิดประชาคมเอเชียตะวันออก

แนวคิดประชาคมเอเชียตะวันออก





            คำว่า "ประชาคม" นั้นจะต้องมีการเคลื่อนย้าย แรงงาน เงินทุน ปัจจัยการผลิตได้อย่างเสรี และจะต้องมี "อัตลักษณ์" (identity) ร่วมกันภายในกลุ่ม


แนวความคิดที่ 1 ของ "ประชาคมเอเชียตะวันออก" นั้น ต้องย้อยกลับไปเมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะแนวคิดนี้ ดันตรงกับแนวคิดของ จักรวรรดิ์ญี่ปุ่นในสมัยนั้น นั่นก็คือ "เอเชียเพื่อเอเชีย" ชึ่งก็คือ "วงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา" (The Greater East Asia) นั้นเอง


ที่จะมีการรวมเอา "คนเอเชีย" ทั้งหมด ซึ่งก็คือพวก คนเอเชีย มองโกลอยด์ (Mongoloid) ที่มีลักษณะ ผมดำหยาบ และเหยียดตรง มีขนตามร่างกายค่อนข้างน้อย นัยน์ตามี ตาเรียว ขนาดเล็กและมีสีดำหรือสีน้ำตาล ผิวสีเหลือง น้ำตาลอ่อนจนถึงน้ำตาลเข้ม หน้ากว้าง จมูกเล็ก เข้ามาไว้รวมกัน ซึ่งแนวคิด "วงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา" จะมี ญี่ปุ่น จีน เกาหลี มองโกเลีย เนปาล ภูฎาน ไต้หวัน อินโดจีน(ลาว เวียดนาม กัมพูชา) ไทย พม่า มาเลเชีย อินโดนีเชีย ฟิลิปินส์ สิงคโปร์ บรูไน เข้ามาอยู่ด้วยกัน ตามแนวคิด "เอเชียเพื่อเอเชีย" แต่แนวคิดนี้ก็ต้องจบไป เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2

มาในสมัยปัจจุบัน เมื่อมีความพยายาม รวมตัวกันของอาเซียน 10 ประเทศ และได้เชิญ อีก 3 ประเทศ คือ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ภายใต้ชื่อ อาเซียน+3 ซึ่งทำให้แนวคิด "เอเชียเพื่อเอเชีย" กลับมาอีกครั้ง


แนวคิด อาเซียน+3 เป็นแนวความคิดของผู้นำ มาเลเชีย ในตอนนั้น ซึ่งก็คือ ดร.มหาธีร์ โมฮัมหมัด ท่านมองว่าแนวคิดนี้ มีความเป็นไปได้ และเหตุที่ต้องรวมกัน นั้นเพราะวิกฤติต้มยำกุ้ง ปี 2540 เป็นสำคัญ แต่ทว่าแนวคิดนี้ กลับได้รับการคัดค้านจาก อเมริกา อย่างหนัก เพราะอเมริกาไม่อยากให้เอเชียรวมตัวกัน หากรวมกันได้ ก็จะเป็นภัยคุกคามทางด้านเศรษฐกิจ อีกทั้งยังเป็นคู่แข่งทางการเมืองของอเมริกาได้

ส่วนแนวคิดที่ 2 แนวคิดของประชาคมเอเชียตะวันออก ที่พอจะย้อนกลับไปได้ ก็คือ แนวคิด "จักรวรรดิฉิน" ในอดีต ที่ "ฉิน" จะถือว่า รัฐใดๆก็ตามที่ ส่งเครื่องราชบรรณาการ (จิ้มก้อง) ให้ จีนจะถือว่า รัฐๆนั้น ยอมรับในอำนาจของจีน และจีนจะถือว่า รัฐๆนั้น เป็น "รัฐบรรณาการของจีน" หรือ "จักรวรรดิจีน" แม้ว่าจะมีข้อโตแย้งว่า การที่รัฐต่างๆในอาเซียน ส่งบรรณาการให้จีนนั้น เป็นเพื่อการค้าต่างหาก แต่จีนเขาไม่คิดเช่นนั้น

"แม้ผู้เขียนจะไม่ค่อยชอบแนวคิดนี้" แต่ก็จำเป็นต้องยกมา เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงมุมมอง หรือทัศนคติ ของทั้ง ญี่ปุ่น และจีน ต่อพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งทั้ง จีน และญี่ปุ่น ถือว่า เป็นเขตอิทธิพลของตัวเอง สรุปคือทัศนคติของจีนและญี่ปุ่นพอๆกันเลย

อนึ่ง อเมริการู้ว่า การร่วมกลุ่มเป็นประชาคมได้นั้น จำเป็นต้องใช้ "อัตลักษณ์" ที่เหมือนกันภายในกลุ่มร่วมกัน เอเชียมีลักษณะ ความเป็น คนมองโกลอยด์ ความเป็นคนเอเชียร่วมกัน ส่วนตะวันออกกลาง ก็มีอัตลักษณ์ร่วมกันก็คือ ภาษาอาหรับ

เพราะฉนั้น อเมริกาจะไม่ยอมให้ ทั้ง อาหรับ หรือ เอเชียตะวันออก รวมตัวกันได้ ซึ่งในส่วนของ อาหรับ ที่มีการรวมตัวกันแบบหลวมๆอยู่ก่อนแล้ว อเมริกาจึงได้เข้าไปสร้างความขัดแย้ง จนประเทศในอาหรับรวมตัวกันไม่ติด ซึ่งก็ได้ผลดีเยี่ยม

แต่เอเชียนั้นต่างกัน ในเอเชีย อเมริกา พยายามสร้างความขัดแย้ง ทั้ง ในกรณี ไต้หวัน กับ จีน กรณี เกาหลีเหนือ และล่าสุดในการประชุมอาเซียนที่ภูเก็ต ประเด่นพม่า ที่นาง ฮิลลารี่ คลินตั้น พยายามจะบอกกับอาเชียน โดยเน้นหนักมาที่ ประเทศไทย ว่า พม่า อาจจะกำลังพัฒนาอาวุทธนิวเครียร์อยู่ แต่เอเชีย ก็ยังไม่รบกับแบบอาหรับ ซักที และสิ่งแอบแฝงมา นั้นก็เพื่อให้อาเซียน โดยเฉพาะเน้นมาที่ไทย ให้ไม่ไว้ใจพม่า ซึ่งจะทำให้อาเซียนมีปัญหาได้


อเมริกาไปที่ไหน ก็วุ่นวายที่นั้นจริงๆ ปัจจุบันนิวเครียร์ ใน อิรัค ชาวโลกก็รู้แล้วว่าแหกตา แต่ยังทำมึนไปได้เรื่อยๆ 

การรวมกลุ่มของ เอเชียตะวันออก ไม่ใช่อยู่ดีๆ ก็เกิดขึ้นได้ แต่มันมีสาเหตุผลักดันที่น่าสนใจก็คือ "วิกฤติต้มยำกุ้ง" ปี 2540 ที่ประเทศไทยโดนโจมตีค่าเงินบาท โดยกลุ่มทุนจากตะวันตก ซึ่งถือได้ว่า เป็นการปล้นทางเศรษฐกิจครั้งสำคัญ

อเมริกา ในฐานนะพันธมิตรนอกนาโต้ กลับยืนมอง ไทย ให้ล้มไปซะเฉยๆ แบบปากบอกจะช่วย แต่ก็ไม่ได้ช่วยอะไรเลย เมื่อ ไทย ล้ม อินโดนีเซีย ก็ล้มตาม ตามด้วย เกาหลีใต้ ฟิลิปินส์ มาเลเซีย ก็หนัก ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศในฐานนะผู้ให้กู้รายใหญ่ในเอเชีย ก็ปวดหัว เพราะลูกหนี้ไม่มีเงินจ่าย ส่วน จีน ในตอนนั้น ไม่ยอมลดค่าเงินของตัวเอง เพื่อช่วย อาเชียน และเอเชีย จีนจึงเป็นที่เกรงใจ ต่อประเทศใน อาเซียน ในเวลาต่อมา


ไทย อินโดนีเชีย และเกาหลีใต้ ต้องเข้าโครงการ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF โดย IMF ให้เงินมา 1 ก้อน และบังคับให้ ทั้ง 3 ประเทศ ลดการใช้จ่ายทางการเงินภาครัฐ และต้องปล่อยให้ธนาคารที่อ่อนแอล้ม นั้นหมายความว่า ไม่มีการลงทุนจากภาครัฐ และธุรกิจธนาคารพังทลาย เครื่องจักรสำคัญทางเศรษฐกิจ ตัวสำคัญหายไป ซะเฉยๆ 1 ตัว ผลจากนั้น ก็คือ กลุ่มทุนตะวันตก เข้ามาซื้อ กิจการของไทย และเอเชีย เกือบหมดในตอนนั้น คิดแล้วน่าเจ็บใจ


ส่วนประเทศ มาเลเชีย นำโดย ดร.มหาธีร์ โมฮัมหมัด เก่งมาก และรู้ทัน ไม่ยอมเข้าโครงการ IMF และ รัฐบาลมาเลเซีย ได้เร่งการลงทุนภาครัฐ และตรึงค่าเงินเพื่อลดความผันผวน ผลก็คือ มาเลเชีย ฟื้นตัวเร็วที่สุด อีกทั้ง ไม่ต้องเป็นหนี้อีก เพราะความจริง เงินของ IMF ก็คือเงินของเอเชียทั้งนั้น ตะวันตก เอาเงินของ เอเชีย มาเป็นหนี้ให้ เอเชีย ซะงั้น พูดง่ายๆ ก็คือ เป็นหนี้ของเงินตัวเอง

ตอนนั้น คนไทย มีความรู้สึกแย่กับ อเมริกามาก และเหมือน ตบหัวแล้วลูบหลัง อเมริกาขายเครื่องบิน F-16 ADF แบบถูกๆให้ไทย มาหนึ่งฝูง แต่ตอนหลังจากนั้น ไทยไม่ซื้อ เครื่องบินจากอเมริกาอีก ไทยไปซื้อของสวีเดน เป็นเครื่องบิน รุ่น JAS-39 เมื่ออเมริการู้ข่าว จึงส่งจดหมายทางการมาว่า "อเมริกาไม่เข้าใจ ว่าทำไมประเทศไทย ที่ชื้อเครื่องบิน และระบบอาวุทธของอเมริกา แบบผูกขาดมาโดยตลอด ทำไมจึงได้ตัดสินใจชื้อเครื่องบินของสวีเดน"


ความจริงปรากฎอีกครั้ง เมื่อปี 2552 เกิด "วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์" อเมริกากลับทำทุกอย่าง ที่ตรงกันข้ามกับ ที่ IMF เคยสั่งให้ ไทย ทำเมื่อปี 2540 นั่นคือเร่งใช้จ่ายภาครัฐ ลดดอกเบี้ย ตรึงค่าเงิน ประครองธนาคารใหญ่ ไม่ให้ล้ม และรักษาระบบการเงินการธนาคารเอาไว้ 

สุดท้าย เอเชีย เมื่อได้เห็นแบบนั้น ก็รู้สึกไม่ดีกับ IMF มากขึ้น และในปี 2552 เอเชีย เลยจัดการตั้ง "กองทุนการเงินเอเชีย" หรือ AMF ขึ้นมา แล้วส่งเงินเข้า IMF ให้น้อยลง ผลคือ IMF ขาดเงิน เพราะเงินทุนส่วนใหญ่ เป็นของเอเชีย

ความจริง AMF เป็นข้อเสนอของญี่ปุ่น นำเสนอที่เชียงใหม่ เมื่อปี 2542 แต่ทว่าอเมริกาคัดค้านหนัก เพราะกลัวว่าจะไปแย่งบทบาทของ IMF ที่อเมริกา เอาเงินของ เอเชีย ไปทำเป็นเจ้าของอยู่ เรื่องเลยเงียบไป เพราะญี่ปุ่นเกรงใจอเมริกา 


เอาละ ทีนี้ มาพูดถึง "ประชาคมเอเชียตะวันออก" กันบ้าง ว่าควรจะมีประเทศอะไรอยู่บ้าง


กรอบที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดก็คือ "อาเซียน+3" เพราะมีอัตลักษณ์ร่วมกัน นั้นคือ "คนเอเชียมองโกลอยด์" 


ส่วนกรอบ อาเซียน+6 กรอบนี้ ไม่มีทางเป็นไปได้ เพราะ ไม่มี "อัตลักษณ์" ร่วมกัน คงเป็นได้แค่ ประชาคมเฉพาะด้านเศรษฐกิจ แบบไม่มีการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเสรี


เพราะ คนไทยเอง ก็อาจจะไม่ค่อยสบายใจนัก ที่มีคนหน้าตาออกแนวอาหรับ อินเดีย ที่อาจจะรู้สึกไม่คุ้นเคย เดินไปเดินมาในกรุงเทพฯ เป็นจำนวนมาก ในฐานนะแรงงานเสรีของประชาคม แต่หากเป็นคน พม่า ลาว กัมพูชา จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย แม้ว่า เขาจะเดินไปเดินมาในกรุงเทพ ในฐานนะแรงงานเสรีเช่นกัน เราก็จะดูไม่ออกเลยว่าเขาไม่ใช่คนไทย แต่หากเขาพูดไทยได้อีก ก็แยกไม่ออกไปกันใหญ่ สิ่งนี้ในทาง อัตลักษณ์ เรียกว่า "ความกลมกลื่น" (Similarity)

ส่วน ออสเตรเลีย ก็มีปัญหาเรื่อง การเหยียดผิวคนเอเชียมาก ใครเคยไปอยู่ออสเตรเลีย คงจะรู้ แม้ว่า ปัจจุบัน ออสเตรเลีย พยายามปรับภาพลักษณ์ใหม่ว่าเป็นมิตร กับเอเชีย แต่แล้ว ความจริง ที่ซ่อนอยู่ลึกๆ ในหัวใจ ของคนออสเตรเลีย ก็ปรากฎ เมื่อ พรรคการเมืองหนึ่ง ที่ต่อต้าน คนเอเชีย ได้รับการเลือดตั้งแบบถล่มทลาย


คนออสเตรเลีย มองว่า คนเอเชีย ด้อยพัฒนา และโง่กว่าคนขาว นั้นเพราะยังติดภาพว่า เอเชีย คืออาณานิคมของคนขาว



แต่ปัจจุบัน ความจริงอันน่า เจ็บปวดสำหรับ คนออสเตรเลีย ก็คือ ออสเตรเลีย พึ่งพาเอเชีย และหนีเอเชียไม่พ้น แม้จะไม่พูอออกมา แต่ลึกๆนั้น ยังมีคนออสเตรเลียจำนวนไม่น้อย ที่ไม่ต้องการให้ คนเอเชีย ไปเดินปะปนกับพวกเขา ในฐานนะคนร่วมประเทศ มันเป็นความคิดที่ฝังหัวของเขามานาน คงต้องใช้เวลา อีกนาน กว่าจะปรับได้

แล้วอย่างนี้ กรอบ อาเซียน+6 มันจะเป็นกลายเป็น ประชาคมเอเชียตะวันออก ได้อย่างไร อีกทั้ง หากใช้กรอบ อาเซียน+6 มีแนวโน้มว่า ออสเตรเลีย จะไปดึง อเมริกา เข้ามาด้วย กลายเป็น ประชาคมเอเชียแปซิฟิก สมใจออสเตรเลียแน่นอน แล้วก็อาจจะมีบางประเทศไปดึง รัฐเชีย มาอีก แล้วถ้าหาก อเมริกา เข้ากลุ่มมาได้ ประเทศไหนจะกล้าไล่ อเมริกา ออกจากกลุ่ม หาก จีน รัฐเซีย อเมริกา เป็นประชาคมเดียวกัน คงดูไม่จืดแน่ๆ


ย้อยกลับไปที่ อเมริกา หลังจากที่ได้สร้างความเจ็บปวด ทางเศรษฐกิจให้กับประเทศในเอเชีย เมื่อปี 2540 หลังจากนั้น อเมริกา ก็ไปวุ่นวายกับสงครามในอาหรับ และได้ทิ้งเอเชียไปเลย จน 10 กว่าปีให้หลัง อเมริกาคิดจะกลับมาหา เอเชีย เพราะเริ่มนึกได้ว่า ภูมิภาคนี้ ขนาดเศรษฐกิจ และขนาดประชากรมหาศาล แต่การกลับมาครั้งนี้แทบไม่มีเวทีให้ยืน เพราะ APEC ที่อเมริกาควบคุม ได้หมดความน่าเชื่อถือไปแล้วตั้งแต่ปี 2540 จนเวทีนี้ กลายเป็นแค่เวที "คุยกันเล่นๆ" เท่านั้น


ส่วนองค์กร "อาเซียน" ที่ยังคงเป็นองค์กรที่มีพลัง และทำงานได้อยู่ ในกรอบใหม่ของ อาเซียนคือ กรอบอาเซียน+3 และกรอบอาเซียน+6 กลับไม่มี อเมริกา ซึ่งได้สร้างความแปลกใจให้กับ อเมริกา พอสมควร จากนั้นอเมริกา ก็พยายามแก้เกมส์ โดยการสร้างกรอบใหม่ๆ มาแข่งขันกับ อาเซียน ทั้ง G20 APEC ECS และกรอบอื่นๆ ซึ่งก็คงดูกันต่อไป แต่จะบอกว่า กรอบพวกนี้ แทบจะไม่มี "อัตลักษณ์" เอาเสียเลย แล้วจะพัฒนาให้เป็นองค์กรที่ active (ทำงานได้ มีผลทางกฎหมาย) ได้อย่างไร



แม้ว่ากรอบ อาเซียน+3 ญี่ปุ่นจะไม่ค่อยชอบ เพราะกลัวว่าจีนจะคุม แต่ ญี่ปุ่นลืมนึกไปว่า ค่านิยม ของอาเชียนคือ ฉันทามติ และอาเซียน หากจะไปเป็น ประชาคมเอเชียตะวันออก ก็จะไปในนาม อาเซียน จะไม่แยกไปเดียวๆ จีนคงคุมอาเซียนไม่ได้ง่ายๆ 



บางที่ "ประชาคมอาเซียน" หรือ "ประชาคมเอเชียตะวันออก" อาจจะพัฒนาไปเป็น "สหภาพเอเชียตะวันออก" ไปเลยก็ได้


สรุปคือ "ประชาคมเอเชียตะวันออก" กรอบที่เป็นไปได้คือ "กรอบอาเชียน+3" (อาจรวมเกาหลีเหนือ ไต้หวัน มองโกเลีย เนปาล ภูฎาน ในอนาคต) อัตลักษณ์ของกรอบนี้คือ "คนเอเชีย มองโกลอยด์" เพราะอย่าลืมว่า ออสเตรเลีย เขาบอกกับเอเชียและโลกตลอดว่า เขาคือตะวันตกนะ เขาคือคนขาวนะ เขาไม่ใช่คนเอเชีย

เปิดแนวคิด ขอนแก่นมหานคร เมืองหลวงภาคอีสาน รับประชาคมอาเซียนปี 58


               เปิดแนวคิด ขอนแก่นมหานคร เมืองหลวงภาคอีสาน รับประชาคมอาเซียนปี 58



เปิดแนวคิด ขอนแก่นมหานคร เมืองหลวงภาคอีสาน รับประชาคมอาเซียนปี 58
 หลังจากที่ประเทศไทยประสบกับเหตุอุทกภัยครั้งร้ายแรง โดยเฉพาะเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานครที่สร้างความเสียหายต่อบ้านเรือน ประชาชน โรงงานอุตสาหกรรม ประเมินค่าเสียหายหลายร้อยล้านประเด็นหนึ่งที่มีการถูกหยิบยกมาพูดคุยกันก็คือ การสร้างเมืองหลวงในสถานที่แห่งใหม่ เพื่อรองรับ และสร้างความพร้อมในอนาคต เพราะหากกรุงเทพฯ เมืองฟ้าอมรของประเทศไทยยังคงประสบกับภัยน้ำท่วมอยู่เรื่อยมา คงต้องใช้งบประมาณมหาศาลในการฟื้นฟู
    
แต่ทว่า การย้ายเมืองหลวง อาจไม่าใช่การเปลี่ยนเมืองไปเสียทีเดียว แต่จะเป็นการกระจายอำนาจไปจังหวัดอื่นที่มีความเหมาะสม ซึ่งก่อนหน้านี้ แนวคิดย้ายเมืองหลวงมีมาตั้งแต่สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม และพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยได้ให้สภาพัฒน์ทำการศึกษาข้อมูลเบื้องต้น และเห็นว่าเป็นจังหวัดที่มีความเหมาะสมทั้งกายภาพ และภูมิศาสตร์ พื้นที่เป็นแนวลาดชัน เหมาะสมที่จะตั้งเป็นเมืองหลวง อาจจะตั้งเป็น “เมืองหลวง” หรือไม่ หรือจะให้เป็น “ศูนย์บริหารราชการ” ก็ได้

ความชัดเจนในเรื่องนี้เริ่มเห็นเค้าลางที่รัฐบาลเตรียมที่จะจัดตั้ง จังหวัดขอนแก่น เป็นเมืองหลวงของภาคอีสาน ให้เป็นศูนย์กลางลอจิสติกส์ การคมนาคมรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  Asean Economics Community หรือ AEC ในปี ค.ศ.2015 ที่จะมีผลโดยตรงกับประเทศไทย เพราะขอนแก่น เป็นใจกลางของภาคอีสานอย่างแท้จริง และกำลังพัฒนาจังหวัดตัวเองไปอย่างราบรื่น และไปในทางที่ดีในทุกๆปี

โดยผลักดันให้เป็นศูนย์กลางคมนาคม ทั้งด้านการบิน ทางรถยนต์-รถไฟ และศูนย์กระจายสินค้า เพราะมีศักยภาพเด่นทำเลที่ตั้งเป็นศูนย์กลางคมนาคมขนส่งทั้ง
ทางบก-มีโครงการรถเมล์ BRT
ทางอากาศ- คือ International Airport ที่ตั้งจังหวัดขอนแก่นเหมาะที่จะพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาค

การขนส่งผ่านระบบราง-คือ ศูนย์กลางขนส่งผ่านระบบราง โดยจะมีการพัฒนารถไฟรางคู่ผ่านจังหวัดขอนแก่น และตัดเส้นทางรถไฟเส้นใหม่ ขอนแก่น-นครพนม และการขนถ่ายสินค้าในภูมิภาคอาเซียน  โดยจะทำเป็นศูนย์ “Logistic Hub” ในประชาคมอาเซียน
โดยนักธุรกิจมองว่า เศรษฐกิจในภาคอีสานจะเติบโตเฉลี่ยดีกว่าภูมิภาคอื่นๆ เพราะมีปัจจัยพื้นที่ที่อำนวย และขอนแก่น เป็นเมืองใหญ่ในภาคอีสานนับตามจำนวนประชากรรองจาก โคราช และอุดรธานี ส่วนหากจะมีการรวมตัวเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และมีผลจริงๆจังๆ ณ วันที่ 1 มกราคม 2558 ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมาย ที่ไทยจะมีการลงทุนเสรี เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว คนอาเซียนจะเข้ามาประเทศไทยมากยิ่งขึ้น ฉะนั้นเรื่องภาษาอังกฤษ เป็นสิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมทักทายพูดคุย

นอกจากนี้ การค้าขายบริเวณชายแดนจะคึกคักอย่างมาก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมโรงแรม, การท่องเที่ยว, ร้านอาหาร, รถเช่า เนื่องจาก ด่านศุลกากรชายแดนมีบทบาทน้อยลง จากการที่ไทยได้เปรียบอยู่ตรงกลาง ทำให้เราค้าขายได้มากขึ้นเพราะเราจะส่งของไปท่าเรือทางซ้ายก็ได้ ทางขวาก็ได้ ความเจริญจึงเข้ามาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

การผลักดันให้ขอนแก่น เป็นศูนย์กลางการคมนาคม รับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป็นโครงการอภิมหาโปรเจคท์ที่ต้องใช้เงินลงทุนกว่า 216,000 ล้านบาท
แต่ก็ยังไม่มีการยืนยันว่าจะเป็นจริง และแล้วเสร็จได้อีกเมื่อไหร่ แต่หากรัฐบาลมีการเร่งผลักดันให้เกิดขึ้นจริง ขอนแก่นมหานคร จะกลายเป็นเมืองหลวงภาคอีสาน ที่มีการกระจายอำนาจจากกรุงเทพฯสู่ภูมิภาคได้เป็นอย่างดี

และต้องจับตาดูว่า ในการข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่จะถึงนี้ ขอนแก่น จะมีการพัฒนาไปในทิศทางใด
เขียนโดย nattawat_86 โพสต์เมื่อ วันอาทิตย์ที่ 1 เมษายน 2555 เนื้อหานี้อยู่ในหมวด ข่าวเด่นประจำวันสกู๊ปข่าว

การเสริมสร้างแนวคิดเชิงนวัตกรรม เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ความหมายของนวัตกรรม

ความหมายของนวัตกรรม


          นวัตกรรม (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า “ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา”
“สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม"
และหมายรวมถึงสิ่งที่เกิดขึ้นจากความสามารถในการใช้ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะ
และประสบการณ์ทางเทคโนโลยีหรือการจัดการมาพัฒนาให้เกิดผลิตภัณฑ์ หรือกระบวนการผลิต
หรือบริการใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด
ตลอดจนการปรับปรุงเทคโนโลยี การแพร่กระจายเทคโนโลยี การออกแบบผลิตภัณฑ์
และการฝึกอบรมที่นำมาใช้เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและก่อให้เกิดประโยชน์สาธารณะใน
รูปแบบของการเกิดธุรกิจ การลงทุน ผู้ประกอบการ หรือตลาดใหม่หรือรายได้แหล่งใหม่
รวมทั้งการจ้างงานใหม่

สำนักงาน นวัตกรรมแห่งชาติ

แนวคิด : เยาวชนไทยรุ่นใหม่เกี่ยวกับอาเซียน ( ASEAN )


แนวคิด : เยาวชนไทยรุ่นใหม่เกี่ยวกับอาเซียน ( ASEAN )


ความเคลื่อนไหวอันสดใสร่าเริง ของตัวแทนเยาวชนจากประเทศต่างๆ ดูเหมือนจะสร้างสีสัน ให้กับภาคประชาสังคมบน 'เวทีร่วม'.....

ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 15 อยู่ไม่script> น้อย นอกจากความแตกต่างของอายุยังมี 'ความหลากหลาย' ทางความคิดจากบรรดา 'คนรุ่นต่อไป' ที่เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของพวกเขาให้ผู้ใหญ่ได้ฟัง
 ชลกานต์ ผลวัฒนะ หรือ เต๊นท์ จาก โรงเรียนแกลงวิทยสถาวร จ.ระยอง ถือเป็นน้องใหม่อีกคนที่ได้มีโอกาสมาเปิดหูเปิดตา เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนกับเหล่า 'รุ่นพี่' จากกลุ่มเยาวชนต่างๆ จากทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถึงแม้จะเพิ่งพ้นชีวิตหัวเกรียนขาสั้นเข้าสู่รั้วชีวิตนักศึกษามหาวิทยาลัย แต่ 'ชั่วโมงบิน' บนเวทีระดับเยาวชนไม่ได้ 'ละอ่อน' ไปตามหน้าตาเลย
 เต๊นท์ เข้าร่วมเวทีครั้งนี้ในฐานะตัวแทนกลุ่มรักษ์เขาชะเมา ที่ทำงานด้านสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ ตลอดจนฟื้นฟูวิถีชีวิตชุมชนขึ้นมา
 "ตื่นเต้นครับ" เขาออกตัวถึงความรู้สึกแรกที่ได้พบปะเพื่อน (รุ่นพี่) นานาชาติคราวนี้
 หลังอาหารมื้อกลางวัน ช่วงเวลาพักครึ่งก่อนเริ่มวงเสวนาในภาคบ่าย เขาจึงแวะมาแบ่งปันมุมมอง และความคิดของ 'น้องใหม่' ให้รู้
 
เข้ามาเป็นตัวแทนในการประชุมครั้งนี้ได้อย่างไร
 ตั้งแต่เดือนที่แล้ว (กันยายน 2552) มีการเตรียมเยาวชนเข้าร่วมกลุ่มเยาวชนอาเซียน เวทีตอนนั้นมีการแลกเปลี่ยนกันว่าจะมีอะไรเกี่ยวกับเยาวชนไทยที่จะมานำเสนอในเวทีอาเซียน ก็มีการเชิญกลุ่มรักษ์เขาชะเมาเข้าร่วมด้วย พี่ๆ เขาก็มองว่า เราน่าจะสามารถถ่ายทอด และสื่อสารกับคนอื่นๆ ได้ และส่วนตัวชอบเกี่ยวกับการสื่อสาร การทำงานเกี่ยวกับสังคมอยู่แล้ว เพราะเราทำงานเกี่ยวกับสิทธิเด็กมาตั้งแต่เด็ก เวทีนี้พี่ๆ ก็คิดว่าน่าจะคล้ายๆ กัน ก็เลยได้รับความไว้วางใจให้เป็นตัวแทนกลุ่มออกมา
ทำไมถึงสนใจกิจกรรมด้านนี้
 ผมเริ่มให้ความสนใจกับงานกิจกรรมของเยาวชนตั้งแต่ยังอยู่ชั้นประถมครับ ไปยืนเกาะรั้วดูตั้งแต่ชั้นป.2-3 เข้าไปจริงๆ ตอนป.4 ในค่ายรักษ์วัฒนธรรม ก็ได้อยู่ในกลุ่มเรื่อยมาเป็นเวลา 8 ปีแล้ว จริงๆ เด็กๆ แทบทุกคนในหมู่บ้านก็โตมากับกลุ่มรักษ์เขาชะเมา ได้เห็นกิจกรรมที่พวกพี่ๆ จัด ได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมทำเกี่ยวกับสิทธิเด็ก สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม สังคม ทำงานร่วมกับชาวบ้าน เรียนรู้วิถีชีวิต ลดละเลิกอบายมุข ทำงานเกี่ยวกับเยาวชนด้านสื่อ การเผยแพร่สื่อสีขาว มันเป็นสิ่งที่เราควรจะทำในพื้นที่ทำให้กับบ้านของเราเอง
เรียนรู้อะไรจากการทำกิจกรรมบ้าง น่าจะได้เรื่องข้างในมากกว่า ทุกสิ่งที่ทำช่วยหล่อหลอมเราให้มีจิตใจที่เป็นสาธารณะ มีจิตใจที่จะอาสามากขึ้น เรารู้สึกว่าเราทำงานตรงนี้ เวลาไปทำงานอะไรในสังคมเราก็อยากจะอาสาไปช่วยเหลือ ไม่ได้หวังอะไรตอบแทน แล้วก็ยังถือเป็นการฝึกตัวเองไปอีกทางหนึ่งด้วย
ความเป็นจิตอาสาในสังคมจำเป็นแค่ไหน จำเป็นมากครับ เพราะทุกวันนี้สังคมยังมีน้อยอยู่ อีกอย่างก็คือ สังคมมีการอาสามาดูแลกัน ทำให้เราได้เรียนรู้ระหว่างกันและกัน อย่างที่ผมไปลงพื้นที่กับกลุ่มเยาวชนเก็บข้อมูลทางวัฒนธรรมในหมู่บ้าน เราก็ได้เรียนรู้อะไรเยอะแยะ มันจะค่อยๆ บ่มเพาะความรู้ของเราที่มีนอกเหนือจากตำราเรียน ทำให้เรามีโอกาสมากกว่าคนอื่น มาทำกิจกรรม ได้เจอผู้คนหลากหลาย ถ้าเป็นเด็กธรรมดาที่เคยไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรม มาถึงตรงนี้ก็คงยังไม่รู้เรื่องมากกว่าที่อยู่ในห้องเรียน
สนใจอะไรในอาเซียน
 สนใจเรื่อง สิทธิมนุษยชน และสิ่งแวดล้อม เพราะสิทธิมนุษยชน อย่างสิทธิเด็ก ถือเป็นกิจกรรมแรกๆ ที่ผมทำ สิทธิเด็กถือเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิมนุษยชนก็มีข้อมูลมาให้เราสนใจ ทำให้รู้สึกว่าอยากจะช่วย... อยากรู้ว่ามีกฎหมายตรงไหนที่จะนำไปใช้ได้ และอยากให้ประเทศไทยตื่นตัวในเรื่องนี้ให้มากกว่าที่เป็นอยู่
 ส่วน สิ่งแวดล้อม มันเป็นเรื่องใกล้ตัว และกลุ่มรักษ์เขาชะเมาก็เกิดขึ้นมาจากแนวคิดนี้ด้วย เราก็คิดว่ามันน่าจะมีประโยชน์ถ้าเราได้เรียนรู้เรื่องตรงนี้ บนเวทีนี้อย่างน้อยมันก็จะได้นำเสนอ และสามารถทำอะไรที่มีประโยชน์ต่อชุมชนได้ อย่างสามารถให้เยาวชนสามารถดูแลพื้นที่ที่เป็นสิ่งแวดล้อมของหมู่บ้านได้ โดยที่ไม่ต้องพึ่งทางภาครัฐมากนัก เพราะปัจจุบันเราก็มีปัญหากับทางภาครัฐ เขาก็ยังไม่สนับสนุนเต็มที่ และเราก็ยังไม่กล้าเข้าพื้นที่ตรงนั้น เพราะอาจจะผิดกฎหมาย แต่บางทีมันก็เป็นหน้าที่ของเราที่เราจะต้องดูแลป่า แต่ด้วยความที่เป็นรัฐทำให้เราไม่สามารถดูแลอะไรได้มากเท่าที่ควร
ภาพอาเซียนในความคิดกับของจริงต่างกันไหม  ต่างกันมากเลยครับ (ยิ้ม) เหมือนกับผมทำงาน ก็คิดว่าเป็นงานค่อนข้างที่จะหลากหลายแล้ว แต่พอมาที่เวทีนี้มันมีความหลากหลายมากขึ้นไปอีก สมมติเราจะพูดเรื่องสิ่งแวดล้อม มันก็ไม่ได้มีประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างเดียว ยังเกี่ยวกับเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ สิทธิ และเรื่องอื่นๆ อีกมากมาย ก็ทำให้เราได้รู้เรื่องสถานการณ์ปัจจุบันว่าเราได้รู้อะไรบ้าง มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ซึ่งค่อนข้างจำเป็นที่เยาวชนจะหันมาให้ความสนใจกับเรื่องเหล่านี้ เพราะมันเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเรา
 แต่ถามว่า ปัจจุบันนี้เยาวชนสนใจเรื่องนี้ไหม ผมว่าไม่ค่อยสนใจนะ อย่างเรื่องสิทธิมนุษยชน เรื่องสิ่งแวดล้อม มันเป็นสิ่งที่เด็กทุกคนก็รู้กันอยู่ว่ามันเป็นเรื่องของเรา จะต้องรักษาสิทธิมนุษยชน ต้องรักษาสิ่งแวดล้อม แต่ในความเป็นจริงเขาก็ไม่ได้สนใจเรื่องนี้มากนัก แค่รู้ว่าจะต้องดูแลแต่ก็ไม่ได้ลงมือทำจริงๆ ซึ่งแตกต่างกับเพื่อนๆ ในอาเซียนที่เขาก็ทำงานกันจริงๆ
อาจเป็นเพราะหลายๆ เรื่องเยาวชนยังมองไม่ออกหรือเปล่า ใช่ครับ อย่างเรื่องสิทธิเด็กก็ทำให้มันเป็นรูปธรรม ค่อนข้างยากเหมือนกัน
จริงๆ แล้ว เยาวชนสามารถมีบทบาทกับอาเซียนยังไงได้บ้าง
 ผมมองว่าเยาวชนเป็นส่วนหนึ่งของอาเซียนยังไงก็ต้องมีบทบาทกับอาเซียนอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าจะมีเยาวชนสักเท่าไหร่ที่อยากจะเข้ามามีบทบาทกับอาเซียน ถึงแม้ว่าตอนนี้พื้นที่ของอาเซียนจะยังไม่ได้เปิดพื้นที่สำหรับเยาวชนมากนัก แต่ก็มีบางส่วนที่อยากเข้ามาทำงานในอาเซียน คล้ายๆ กับเป็นตัวแทนของเพื่อนๆ เยาวชน บางคนอาจจะไม่ได้รู้เรื่องมากนัก แต่เราก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะเผยแพร่ หรือเป็นกระบอกเสียงเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของสังคมที่พวกเราอยู่ให้ดีขึ้น ซึ่งเราก็ไม่ได้หวังว่ารัฐบาลจะต้องมาดูแลให้ดีพร้อม เพียงแต่ว่าให้อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขได้ กลายเป็นสังคมที่มีความสุขมากกว่าเดิม แล้วก็ปัญหาต่างๆ ลดลง
อยากบอกอะไรกับอาเซียน
 ผมสนใจเรื่องของความหลากหลาสยที่เกิดขึ้นในสังคม ในภูมิภาคอาเซียนเรามีอะไรที่แตกต่างกันเยอะ แม้ว่าทุกวันนี้อาเซียนกำลังพยายามชูความเป็นหนึ่งเดียว แต่ก็ต้องไม่ลืมความหลากหลายทางวิถีชีวิต วัฒนธรรม อยากให้มีการหาทางออกสำหรับจุดร่วมเพื่อยึดโยงความหลากหลายที่มีอยู่ให้เข้ากันว่าจะอยู่ตรงไหน

ที่มา : อาเซียน ของ น้องใหม่ - กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์.mht

เปิดฟ้าส่องโลก หลายเรื่องที่เราต้องปรับเปลี่ยนวิธีสู้ by ดร.นิติภูมิ นวรัตน์


หลายเรื่องที่เราต้องปรับเปลี่ยนวิธีสู้


พุธ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๕
พลเมืองของเวียดนามเพิ่มขึ้นทุกปี พ.ศ.2551 มี 85.1 ล้านคน พ.ศ.2553 มี 86.9 ล้านคน ปีที่แล้ว พ.ศ.2554 มี 87.8 ล้านคน ต่อไปในอนาคตอันใกล้ ผมว่าเวียดนามจะเป็นประเทศที่สองรองจากอินโดนีเซีย ที่จะมีประชากรขึ้นถึงหนึ่งร้อยล้านคน

ความเอาจริงเอาจังทั้งของภาคเอกชนและรัฐบาล ทำให้การค้าระหว่างประเทศของเวียดนามขยายตัว พ.ศ.2554 ขยายตัวมากกว่าปีก่อนถึง 33.3% ความต้องการที่จะขายสินค้าให้มากขึ้น ทำให้ธนาคารแห่งรัฐเวียดนามลดอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างธนาคารลงเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2554 จากดอลลาร์สหรัฐฯละ 18,932 ดอง เป็น 20,693 ดอง

รายได้ประชาชาติที่เราๆท่านๆ เรียกกันว่าจีดีพีต่อหัวของคนเวียดนามก็ขยับขึ้นทุกปี เมื่อ พ.ศ.2552 ยังอยู่ที่ 1,064 ดอลลาร์สหรัฐฯ ตอนนี้ขยับมาอยู่ที่ 1,375 ดอลลาร์แล้ว

เราต้องฝึกฝนให้คนไทยของเราพิจารณาและตัดสินใจในเรื่องต่างๆ จากข้อมูลไม่ใช่ใช้ความรู้สึกตัดสินใจอย่างที่ผ่านมา  เมื่อก่อนเราเคยเป็นเจ้าแห่งการผลิตข้าว พอมาถึงวันนี้ เราตกอันดับ ก็ต้องทราบว่าเราตกอันดับเพราะอะไร ไม่ใช่เพราะประสิทธิภาพของเราด้อยลง รัฐบาลทำงานแย่ลง แต่เพราะประเทศอย่างเวียดนามมีความมุ่งมั่นมากขึ้น ขยันขึ้น เอาจริงเอาจังต่อการเพิ่มผลผลิตทุกปี อย่างเมื่อ พ.ศ.2553 เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ชาวนาเวียดนามผลิตข้าวได้เฉลี่ย 851.2 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งถือว่าสูงมากแล้ว ได้มากกว่าที่ชาวนาไทยผลิตเยอะ

แทนที่รัฐบาลและชาวนาเวียดนามจะหยุดอยู่แค่นั้น กลับชุมนุมสุมศีรษะคิดกันต่อเรื่องเพิ่มผลผลิต จนเมื่อปีที่แล้วนี่แหละครับ ผลผลิตจากเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงพุ่งสูงไปถึง 884.8 กิโลกรัมต่อไร่ เพิ่มจากปีก่อนถึง 33.6 กิโลกรัมต่อไร่ ถ้ารวมทั้งประเทศ ปีที่แล้ว เวียดนามก็ผลิตข้าวได้เพิ่มจากปีก่อน 2.3 ล้านตัน รวมเป็น 42.3 ล้านตัน

เกษตรกรเวียดนามแตกต่างจากเกษตรกรประเทศอื่นตรงที่ไม่เรียกร้องอะไรจากรัฐบาล ไม่ต้องมีจำนำ ไม่มีประกันราคาข้าว เอาเวลาเหล่านั้นมาคิดเพิ่มผลผลิตดีกว่า พ.ศ.2554 ผลผลิตของสินค้าเกษตรจึงเพิ่มจาก พ.ศ.2553 ทุกตัว อ้อยเพิ่มมา 1.3 ล้านตัน ลิ้นจี่และเงาะเพิ่ม 2 แสนตัน กาแฟเพิ่ม 6.7 หมื่นตัน ยางพาราเพิ่ม 5.9 หมื่นตัน ชาเพิ่ม 5.4 หมื่นตัน ฯลฯ

เวียดนามมีพื้นที่น้อยกว่าเราเยอะ สิ่งที่เวียดนามดีกว่าเรา ก็คือ ไม่มีนายทุนไปกว้านซื้อที่มาเก็บไว้ โดยที่ไม่ได้ใช้ทำการเกษตรอะไรเลย ประเทศไทยต่อไปจะแย่ เพราะพื้นที่ทางการเกษตรส่วนใหญ่ไปอยู่ในมือของเศรษฐีและกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ ซื้อตุนไว้เฉยๆ โดยไม่ได้ใช้ประโยชน์ บางบริษัทมีถึงหนึ่งแสนไร่ ไอ้เรื่องอย่างนี้นี่แหละครับ ที่เกษตรกรควรรวมตัวลุกขึ้นมาต่อสู้ ต่อสู้กับนายทุนตุนที่ดิน ต่อสู้ให้มีภาษีมรดก คนจะได้ไม่แย่งกันสะสมสมบัติไว้มากจนเกินไป

พอพ่อของผมไปเป็นรองประธานกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ผมก็เริ่มรู้ข้อมูลที่ไม่เป็นธรรมอะไรเยอะแยะขึ้นครับ เช่น กลุ่มบริษัทขนาดใหญ่จะมีแผนกออกเอกสารสิทธิโดยเฉพาะ รู้กับพวกเจ้าหน้าที่บ้าง ผู้ว่าราชการจังหวัดบ้าง เอา ส.ค.1 บินบ้าง ส.ค.1 บวมบ้าง นำมาออก น.ส. 3 ก. และขยับไปออกเป็นโฉนดที่ดิน เกษตรกรไทยในพื้นที่รู้ทั้งรู้ว่าทรัพยากรที่ดินในหมู่บ้านตัวเองโดนกระทำย่ำยีเอาไปออกโฉนดอย่างไม่ถูกต้อง ก็ไม่รวมตัวร้องเรียน ไม่รวมตัวกันต่อสู้ แต่ดันมากดดันรัฐบาลในเรื่องอื่นที่ไม่เป็นเรื่อง

นโยบายช่วยเหลือประชาชนมากมายหลายอย่างจะทำไม่ได้เมื่อประชาคมอาเซียนอุบัติขึ้นอย่างสมบูรณ์แล้ว วันนั้น ประชาชนคนคุณภาพจากประเทศอื่นที่เก่งกว่าจะไหลไปแย่งงานคนในประเทศที่คนมีคุณภาพด้อยกว่า อย่างเวียดนามตอนนี้มีพลเมือง 87.8 ล้านคน อยู่ในวัยทำงานมากถึง 51.4 ล้านคน (อยู่ในภาคเกษตรกรรม 48% แรงงานอุตสาหกรรมและก่อสร้าง 22.4% และภาคบริการ 29.6%) มีค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 1.4–2.0 ล้านดองต่อเดือน (67.2–96.0 ดอลลาร์สหรัฐฯ) เป็นเงินไทยก็ประมาณ 2,000–2,800 บาทต่อเดือน พวกนี้จะไหลมาไทยไม่น้อย

ที่เวียดนาม ตีห้าชาวนาก็ออกมาอยู่ในทุ่งของตัวเองแล้วครับ ตอนเย็นโพล้เพล้แล้ว เกษตรกรยังอยู่ในที่นาตัวเอง ทำงานกันวันละ 12-15 ชั่วโมง ถ้าเป็นลูกจ้างก็ได้รายได้ไม่ถึงครึ่งที่แรงงานไทยได้ในอนาคต เมื่อเปิดเสรีทุกด้าน เปิดกว้างไปเรื่อยๆแล้ว คนขยันกว่า ทำงานได้นานกว่าข้ามาทำมาหากินในบ้านเรา เราจะสู้เขาอย่างไร?

อ่านแล้วอย่าท้อแท้ครับ แต่ต้องปรับเปลี่ยนมาเป็น “เรื่องที่เราต้องสู้!”
by Dr. Nitipoom Navaratna คอลัมน์ประจำวัน หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ

เปิดฟ้าส่องโลก ไทยจะเป็นฮับการศึกษาของประชาคมอาเซียน? by ดร.นิติภูมิ นวรัตน์


ไทยจะเป็นฮับการศึกษาของประชาคมอาเซียน?


ศุกร์ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๕
ศุกร์วันนี้ 12.00-13.30 น. บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) เชิญ ร.ต.อ.ดร.นิติภูมิ นวรัตน์ พูด “เปลี่ยนให้ทัน ปรับให้ไว ก้าวไกลสู่อาเซียน” รับใช้นักศึกษาปริญญาเอกจากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และเจ้าหน้าที่การบินไทย 300 คน ที่ห้องออดิทอเรียม อาคาร 2 ชั้น 3 สำนักงานใหญ่ฯ ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ

เสาร์พรุ่งนี้ 09.00-11.00 น. รอง ผวจ.นครปฐม เชิญ ร.ต.อ.ดร.นิติภูมิพูด “ผลกระทบจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ต่อท่าเรือน้ำลึกทวายและนิคมอุตสาหกรรม” รับใช้ผู้แทนภาคราชการจากกระทรวง หอการค้า สภาอุตสาหกรรม สภาการท่องเที่ยว ฯลฯ ที่เอกไพลินริเวอร์แคว จ.กาญจนบุรี

อาทิตย์มะรืนนี้ 13.00-14.30 น. บริษัทไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เชิญ ร.ต.อ.ดร.นิติภูมิพูด “การเตรียมความพร้อมสำหรับการขายประกันชีวิตเพื่อรับการแข่งขัน AEC” รับใช้ผู้บริหารการขาย 200 คน ที่ห้องประชุมบริษัทฯ สาขารัตนาธิเบศร์

เมื่อเปิดประชาคมอาเซียนอย่างสมบูรณ์แล้ว การเคลื่อนย้ายบุคลากรทางการศึกษาก็จะมีขึ้น ทั้งระดับผู้บริหาร ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา ฯลฯ มีคนถามผมว่า แล้วเมืองไทยไชโยของเรามีโอกาสที่จะเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาไหม? เพราะดูในแง่ของทำเลที่ตั้งแล้ว ไทยเป็นประเทศที่มีพรมแดนประชิดติดกับประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียนมากที่สุด

ขอเรียนว่า เราคงสู้สิงคโปร์และมาเลเซียไม่ได้ ยกเว้นสถาบันการศึกษาที่รักษามาตรฐานสูงไว้ได้อย่างมั่นคงอย่างมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ  ผม รู้จักสถาบันนี้ดี เพราะพ่อเป็นอาจารย์ประจำที่มีมหาวิทยาลัยนี้มายาวนาน นอกจากนั้น ยังเป็นผู้อำนวยการสถาบันเอเชียและแอฟริกาศึกษาของมหาวิทยาลัยนี้ถึง 4 วาระ วาระละ 3 ปี ความที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการเรียนการสอน ทำให้มีนักศึกษาต่างชาติมาเรียนจากทั่วโลกเกือบ 100 ประเทศ

มหาวิทยาลัยเอกชนที่มีมาตรฐานดีอย่างอัสสัมชัญมีนักศึกษาจากทั้ง 10 ประเทศ ตอนนี้มีนักศึกษาพม่าอยู่สามร้อยกว่า เวียดนามร้อยกว่า กัมพูชาและลาวประเทศละเกินสามสิบคน อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ บรูไน ก็มากันครบ และแน่นอนครับ นักศึกษาไทยมีเป็นหมื่น นักศึกษาเหล่านี้ขยับขับเคลื่อนชีวิตทางการศึกษาโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลาง

เมื่อถามถึงแรงจูงใจที่ทำให้มาเรียนที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ก็มักจะได้คำตอบว่า มาจากความมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล สำเร็จไปแล้วมีองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนแย่งตัวไปทำงาน ความที่อัสสัมชัญเป็นสถาบันการศึกษาที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ซึ่งอยู่ตรงกลางเป็นไข่แดงของกลุ่มประเทศอาเซียน ทำให้การเดินทางมาไปไม่นาน ยามปิดเทอม นักศึกษากลับไปเยี่ยมประเทศของตนได้ง่าย ผู้ปกครองอยากจะมาเยี่ยมนักศึกษาของตนก็บินมาได้ง่าย ใช้เวลานิดเดียว

นอกกลุ่มประเทศอาเซียน ประเทศที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญกำลังฮอตสุดขีดอยู่ในขณะนี้ก็คือ ติมอร์ตะวันออก ทั้งที่ติมอร์ตะวันออกอยู่ใกล้ออสเตรเลีย แต่กระทรวงศึกษาธิการของติมอร์ตะวันออกกลับคัดนักศึกษาทุนของตัวเองมาเรียนภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ความที่เคยตกอยู่ใต้อาณานิคมของโปรตุเกส ผู้คนชนติมอร์พูดกันได้แต่ภาษาโปรตุกีสและภาษาตีตัม พวกนี้จึงต้องมาเรียนภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญเสียก่อน เมื่อสอบผ่านมาตรฐานภาษาอังกฤษแล้ว จึงค่อยเรียนในชั้นปริญญาตรีทางบริหารธุรกิจ วิศวกรรมศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ นิเทศศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ และภาษาศาสตร์ ส่วนระดับปริญญาโท พวกติมอร์ตะวันออกฮิตเรียนบริหารธุรกิจ

แม้แต่ประเทศใหญ่อย่างจีนก็สนใจส่งคนของตนมาเรียนในไทย หลักสูตรปริญญาตรี โท เอก ของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญจึงมีนักศึกษาจีนเรียนอยู่หลายร้อยคน สิ่งหนึ่งซึ่งประเทศไทยของเราดังมากก็คือ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เดือนสิงหาคมที่ผมเขียนรับใช้ผู้อ่านท่านที่เคารพอยู่ในขณะนี้ ที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญกำลังอบรมข้าราชการจีน 65 คน ในหลักสูตร Academic Training in The Technology and Hospitalities & Tourism Management ให้กับสถาบันของจีน 3 แห่งคือ Tianjin Vocational College, Helongjiang Vocational College และ Daqing Medical College

น้องสาวคนรองจากผม นางสาวบาลาซาน นวรัตน์ สำเร็จชั้นมัธยมด้วยการสอบเทียบวุฒิมัธยมปลายของกระทรวงศึกษาธิการแห่งรัฐเมน สหรัฐอเมริกา ขณะนี้ก็เรียนที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ด้วยความมุ่งหวังเป็นนักกฎหมายระหว่างประเทศที่มีคุณภาพ

น้องสาวอีกคน นางสาวจิตการุณ นวรัตน์ สำเร็จชั้นมัธยมด้วยการสอบเทียบวุฒิมัธยมปลายของกระทรวงศึกษาธิการแห่งประเทศอังกฤษ ที่เรียกว่า IGCSE ก็จะเข้าเรียนปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญเช่นกัน

ไทยจะเป็นฮับการศึกษาของอาเซียนได้หรือไม่อยู่ที่การรักษามาตรฐานการศึกษา น้องสาวของผม 3 คน พำนักพักอาศัยอยู่ในประเทศไทย แต่ไม่เชื่อมั่นระบบอะไรบางอย่าง ก็ไปกวดวิชาและสอบเทียบมัธยมปลายของต่างประเทศ คนหนึ่งสอบของรัฐบาลอเมริกัน อีกสองคนสอบของรัฐบาลอังกฤษ ใบประกาศนียบัตรมัธยมปลายพวกนี้มีมาตรฐานใช้สมัครเรียนปริญญาตรีได้ทั่วโลก

ถ้าเรามุ่งมั่นให้การศึกษาของไทยได้มาตรฐาน สามารถใช้สมัครงานและเรียนต่อได้ในทุกประเทศในประชาคมอาเซียน ผู้คนก็จะแห่กันเข้ามาเรียนเพื่อให้ได้วุฒิบัตรจากราชอาณาจักรไทย.
by Dr. Nitipoom Navaratna คอลัมน์ประจำวัน หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

เปิดฟ้าส่องโลก เปิดเสรีภาคการเงินประชาคมอาเซียน by ดร.นิติภูมิ นวรัตน์


เปิดเสรีภาคการเงินประชาคมอาเซียน


จันทร์ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๕
จันทร์วันนี้ 08.30-10.30 น. ร.ต.อ.ดร.นิติภูมิ นวรัตน์ ได้รับเชิญจากนางสาวชูศรี อุดมกุศลศรี ผอ.สนง.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 พูด  “ผู้บริหารและครูจะพานักเรียนสู่ประชาคมอาเซียนได้อย่างไร?”  รับใช้ผู้บริหารการศึกษา ครู ศึกษานิเทศก์ 500 คน ที่โรงแรมรอยัลไดมอนด์ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี

ผู้อ่านท่านที่เคารพครับ ทันทีที่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเกิดขึ้นเต็มรูปแบบในปี พ.ศ.2558 ภูมิภาคอาเซียนก็จะกลายเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน รวมทั้งเราจะเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง เป็นภูมิภาคที่มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน และเป็นภูมิภาคที่บูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลกได้อย่างสมบูรณ์

นอกจากอาเซียนจะมีการเปิดเสรีภาคการค้าสินค้า บริการ แรงงาน และการลงทุนแล้ว ที่ขาดไม่ได้ก็คือ “การเปิดเสรีภาคการเงิน” เพราะระบบการเงินที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามเศรษฐกิจที่หมุนไปอย่างไวอันนี้ จะทำให้ประเทศไทยไชโยของเราต้องเร่งเตรียมการในการอำนวยความสะดวกด้านการเงิน เพื่อประกอบกิจการด้านการค้า การลงทุน และรองรับการย้ายฐานการผลิต เพื่อสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทย

ยุทธศาสตร์ทางการเงินของไทย มีการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือการเปิดเสรีภาคการเงิน โดยการปรับปรุงระบบการเงินให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน คือ 1. ระบบการชำระเงินที่เชื่อมต่อกัน 2. การเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรีมากขึ้น 3. ระบบการให้บริการทางการเงินกับระบบสถาบันการเงิน และ 4. การเปิดเสรีของตลาดทุน

ระบบการชำระเงินนั้น ต่อไปจะเป็นการเชื่อมระบบการชำระเงินของอาเซียนให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อเชื่อมโยง “ระบบการค้าขาย” และ “การใช้จ่าย” ของ 10 ประเทศ หลังจากเป็นประชาคมอาเซียนอย่างสมบูรณ์แล้ว ผู้คนจากทั้ง 10 ประเทศก็สามารถชำระค่าสินค้าและบริการข้ามประเทศทางอิเล็กทรอนิกส์ได้สะดวกและเสียค่าใช้จ่ายน้อยลง รวมทั้งการเชื่อมโยงระบบเอทีเอ็มพูลให้เป็นเครือข่ายเดียวกัน หลังจาก 1 มกราคม 2558 ไปแล้ว ถึงเวลานั้น ผู้อ่านท่านสามารถใช้บัตรใบเดียวกดเอทีเอ็มได้ทุกที่ใน 10 ประเทศอาเซียน

ตอนนี้สิ่งที่กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาก็คือ ระบบการชำระเงินรองรับการค้า การส่งเงินทุนข้ามประเทศ การชำระค่าบริการรายย่อย การชำระเงินค่าหุ้นและตราสารหนี้ และการพัฒนาระบบการชำระเงินของทุกประเทศให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน

สำหรับการเปิดเสรีเงินทุนมากขึ้น ตอนนี้ยังเจรจากันอยู่ ผมคิดว่าสุดท้ายก็จะลงเอาอีตรงที่ว่า ทุกประเทศยอมให้เปิดเสรีตามความพร้อมของตัวเองเป็นหลัก ถ้าพร้อมก็เปิด ถ้ายังไม่พร้อม ก็ยังไม่ต้องเปิด
ความมุ่งหวังตั้งใจเบื้องต้นของ 10 ชาติอาเซียนก็คือ เราต้องการให้เงินทุนเคลื่อนย้ายได้เสรีมากขึ้น โดยลดหรือยกเลิกกฎระเบียบมาตรการที่เป็นอุปสรรคของการเคลื่อนย้ายเงินทุน แต่จะมีการดูแลการบริหารความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นด้วย

หลายท่านถามผมว่า 17 ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป 27 ประเทศ ยอมเลิกใช้เงินสกุลของตัวเอง และหันไปยอมรับนับใช้เงินสกุลยูโร ในกลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศของเรา มีแนวความคิดในเรื่องเงินสกุลเดียวกันบ้างไหมครับ?

ตอบ ก็เห็นมีคนพูดเรื่องเงินสกุลอาเซียนกันเยอะ แต่ตามความเป็นจริง ยังไม่มีการรวมสกุลเงินอาเซียนเป็นสกุลเดียวกันเหมือนสหภาพยุโรป เพราะเศรษฐกิจในกลุ่มอาเซียนทั้ง 10 ประเทศยังมีความแตกต่างกันอย่างมาก ผู้อ่านลองก้มไปดูจีดีพีของอินโดนีเซียซีครับ ตอนนี้กำลังพุ่งกระฉูดส่งตูดจัมโบ้ ใหญ่โตกว่าจีดีพีของลาว 100 เท่า

ผู้อ่านท่านก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่าภาคธนาคารมีความอ่อนไหว อันนี้อาจจะทำให้การเปิดเสรีภาคการเงินหลังจาก 1 มกราคม 2558 จะเป็นแบบ ASEAN-X หมายถึง เปิดเสรีตามความพร้อมและสอดคล้องกับแผนพัฒนาของระบบสถาบันการเงินของแต่ละประเทศ

ไทยมีแผนที่จะเปิดให้ใบอนุญาตธนาคารพาณิชย์ใหม่แบบเต็มรูปแบบได้ใน พ.ศ.2557 ขณะนี้ธนาคารกลางอาเซียน มีกรอบ “มาตรฐานธนาคารอาเซียน” หรือ Qualified ASEAN Bank (QAB) ซึ่งหากธนาคารใดได้มาตรฐานนี้  จะสามารถทำธุรกิจธนาคารอาเซียนได้ทุกประเทศ จะเริ่มพิจารณาใบอนุญาต QAB ในปี พ.ศ.2557 และเริ่มตั้งธนาคารพาณิชย์จริงในปี พ.ศ.2563

ส่วนการเปิดเสรีด้านตลาดทุน เอาไว้ผมจะกลับมารับใช้ผู้อ่านท่านที่เคารพในโอกาสหน้าครับ.
by Dr. Nitipoom Navaratna  คอลัมน์ประจำวัน  หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ

เปิดฟ้าส่องโลก วิสัยทัศน์ของนายกอบจ.อุดรๆ by ดร.นิติภูมิ นวรัตน์


               วิสัยทัศน์อาเซียนของนายก อบจ.อุดรธานี


ศุกร์ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๕
ศุกร์คืนนี้ 24.15 น. นายเนติภูมิ นวรัตน์ พี่ชายของผม เสนอเรื่องเอธิโอเปียตอนที่ 2 ในรายการเปิดเลนส์ส่องโลก ท่านใดสนใจไปลงทุนที่เอธิโอเปีย เชิญชมได้ครับ

เสาร์พรุ่งนี้ นายอำนวย ทิพย์กำจร รอง ผอ.สนง.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 เชิญ ร.ต.อ.ดร.นิติภูมิ นวรัตน์ พูด “การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” รับใช้ครูผู้สอนของสถานศึกษาในสังกัด ผู้บริหารและครูวิชาการ ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาล ฯลฯ จำนวน 1,300 คน เวลา 13.00-15.00 น. ที่โรงเรียนอนุบาลจุมพลโพนพิสัย อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย

พ่อผมได้รับการติดต่อจากนายวิเชียร ขาวขำ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี  ให้ไปปรึกษาช่วยสร้าง “หลักสูตรพัฒนาทรัพยากรมนุษย์พันธุ์ไทยในอุดรธานี” เพื่อรองรับประชาคมอาเซียน จากการสนทนาด้วยวาจาทราบว่านายกฯวิเชียรมุ่งมั่นจะพัฒนาเยาวชนและคนอุดรธานีในปีแรก พ.ศ.2555-2556 ให้ได้มากถึง 5,000-10,000 คน พ่อผมฟังแล้วก็ยอมรับว่านี่เป็นอภิพญามหายอดวิสัยทัศน์ของคนที่เป็นนายก อบจ. ซึ่งนักการเมืองท้องถิ่นส่วนใหญ่สนใจแต่เรื่องขุดสระ ลอกคลอง ทำถนนหนทาง ฯลฯ เพื่อกินเปอร์เซ็นต์ แต่นายกฯวิเชียรไม่ใช่

คุณนิติภูมิถามนายกฯวิเชียรว่า อยากให้มนุษย์พันธุ์ไทยในอุดรธานีมีลักษณะแบบไหน? นายกฯวิเชียรตอบว่า อ้า ผมต้องการมนุษย์พันธุ์ไทยที่ใช้ภาษาอังกฤษได้ มีภาษาอาเซียนภาษาใดภาษาหนึ่งเป็นอาวุธลับ และถ้าเป็นไปได้ ก็อยากให้รู้ภาษาจีนเพิ่มเติม

“อาจารย์ออกแบบหลักสูตรอบรมให้ผมหน่อย ผมอยากให้คนอุดรธานีปรับตัวทั้งภาษาและวัฒนธรรม ให้สามารถมีทักษะในการทำงาน ทักษะเชิงนวัตกรรม และทักษะในการใช้ชีวิตที่สามารถแข่งขันได้เมื่อเปิดประชาคมอาเซียนอย่างสมบูรณ์ใน พ.ศ.2558”

ผู้อ่านท่านครับ ผมมีความเชื่อว่าประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนซึ่งเป็น 1 ใน 3 เสาหลักของประชาคมอาเซียนจะสร้างกระแสการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมของไทย และก็ขอทำนายทายทักไว้ล่วงหน้าว่า ในอีก 5-10 ปีข้างหน้าอาจจะมีคนไทยจำนวนไม่น้อยที่อยู่ไม่รอดในโลกของการเปลี่ยนแปลง

“หลักสูตรที่อาจารย์จะออกแบบให้ ต้องทำให้คนอุดรธานีมีวัฒนธรรมการเรียนรู้เพิ่มขึ้น มีการสร้างทุนทางปัญญาเพื่อให้อุดรธานีเป็นจังหวัดแห่งการเรียนรู้ ผู้คนที่นี่จะต้องมองอนาคตออก หัวใจของการอบรมที่ผมต้องการก็คือ คุณภาพมนุษย์พันธุ์ไทยอุดรธานีที่มีความสามารถในการแข่งขัน”

ผู้อ่านท่านครับ การเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งทั้งหลายในโลกใบนี้ย่อมมีทั้งผู้ได้เปรียบ และผู้เสียเปรียบ เช่นเดียวกับการที่ประเทศไทยไชโยของเราเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ย่อมมีผู้เสียเปรียบ หน้าที่ของรัฐบาลไทย และผู้บริหารบ้านเมืองในระดับต่างๆ จะต้องมองให้ออกและบอกให้ได้ว่า “ใครคือกลุ่มผู้เสียเปรียบ” จากการเปลี่ยนแปลงที่ประเทศเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียน และจะต้องมีวิสัยทัศน์ล่วงหน้าเพื่อ “ลดปัญหา” ของกลุ่มผู้เสียเปรียบนั้น

“ในฐานะนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดผมมีหน้าที่ดูแลการศึกษาของเยาวชนคนในอุดรธานี บางส่วนของหลักสูตรอบรมที่ผมขอให้อาจารย์ออกแบบให้นั้น จะต้องให้เยาวชนที่นี่รู้ข้ามศาสตร์ สามารถแข่งขัน และมีจิตวิญญาณในการเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่สำคัญก็คือ ทำยังไงจะให้เด็กของผมรู้จักการบริหารความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมในอาเซียน”

ผู้อ่านท่านผู้เจริญ อย่างหนึ่งซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ไม่ว่าจะส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค หรือส่วนท้องถิ่นก็คือ ทำอย่างไรจะให้คนไทยมีภูมิคุ้มกันและอยู่รอด มีการเติบโตที่แข่งขันได้ สิ่งที่เยาวชนคนไทยขาดก็คือ การฝึกคิดวิเคราะห์ การใช้เหตุผล การคิดนอกกรอบ และการคิดสร้างสรรค์ อย่างผมเองและน้องๆ ก็ได้รับการออกแบบให้เป็นพวกที่มีวิญญาณไทย ใจสากล ตัวตนเทคโนโลยี เรื่องอย่างนี้ไม่ใช่การฟลุก แต่เป็นการวางยุทธศาสตร์ที่ทำให้เราสามารถจะรู้เรื่องของท้องถิ่น และรู้เรื่องของโลกได้ในเวลาเดียวกัน

77 จังหวัดของประเทศไทยมีการกระดิกพลิกตัวในการพัฒนาต่างกัน บางจังหวัดโชคร้ายได้ผู้ว่าราชการที่ไม่เอาเรื่องเอาราว นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนักการเมืองท้องถิ่นระดับอื่นๆ ก็ไม่สนใจไยดีในการลงทุนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายมากครับ ท่านที่เดินทางไปทุกตรอกซอกมุมของประเทศ ได้สนทนาปราศรัยกับผู้คนทุกจังหวัดก็คงจะเห็นความแตกต่างระหว่างคนใน 77 จังหวัดนี้เป็นอย่างดี

ขอบคุณนายวิเชียร ขาวขำ ที่ไม่ทิ้งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ครับ.
by Dr. Nitipoom Navaratna   คอลัมน์ประจำวัน หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

แนวทางการเตรียมความพร้อมASEAN

แนวทางการเตรียมความพร้อม


 ทำความเข้าใจในเรื่องการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน

สร้างค่านิยมและแนวปฏิบัติร่วมกันของอาเซียนในด้านต่างๆ เช่น ค่านิยมว่าด้วยการไม่ใช้กาลัง ยึดหลักสันติวิธี และการไม่ใช้อาวุธนิวเคลียร์ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อสร้างความสงบ สันติภายในภูมิภาค


 เสริมสร้างขีดความสามารถของอาเซียนในการเผชิญกับภัยคุกคามความมั่นคง บนพื้นฐานความมั่นคงของมนุษย์ ตลอดจนการประสานจัดทาข้อมูลกลางในเรื่องอาชญกรรมข้ามชาติในอาเซียน เพื่อใช้แก้ไขปัญหาการก่อการร้าย การค้ายาเสพติด การประพฤติผิดกฎหมาย และอาชญกรรมข้ามชาติ
 เสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการทหาร เพื่อสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและป้องกันความขัดแย้งที่รุนแรง

เตรียมความพร้อมสาหรับบุคลากรในสาขาต่างๆ อาทิ ภาษาอังกฤษ และภาษาท้องถิ่น เนื่องจากอาเซียนใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการประสานงาน ส่วนภาษาท้องถิ่น ใช้สาหรับการติดต่อสื่อสาร และอานวยความสะดวกต่อประชาชน และนักท่องเที่ยวของสมาชิก
 ศึกษาข้อมูลต่างๆ โดยเฉพาะตัวบทกฎหมายของสมาชิกแต่ละประเทศ เนื่องจากมีความแตกต่างกัน เพื่อประโยชน์ในการเสริมสร้างความร่วมมือ และป้องกันความขัดแย้งระหว่างประเทศ

ศึกษาวัฒนธรรมของสมาชิก โดยเฉพาะประเทศที่มีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน อาทิ ชาวมุสลิม เพื่อสร้างความเข้าใจ และการปฏิบัติต่อประชาชนเหล่านั้นได้อย่างถูกต้อง

จัดตั้งสานักงาน/สานัก/ส่วนงาน เพื่อดูแลงานรับผิดชอบงานด้านอาเซียนโดยเฉพาะ ภายใต้องค์กร



 สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ณ วันที่ 16 มิถุนายน 2554

วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558

ลัญลักษณ์อาเซียนคือต้นข้าว10ต้นมัดกัน
2558ทำไมจึงต้องตั้งอาเซียน ?

ประเทศผู้ร่วมก่อตั้งเห็นว่าการตั้งองค์กรความร่วมมือ ระดับภูมิภาค จะช่วยให้
1. ป้องกันการเกิดความขัดแย้ง
2. ส่งเสริมการระงับข้อพิพาทโดยวิธีสันติ
3. ส่งเสริมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน





ประเทศสมาชิกอาเซียน ประกอบด้วย1. อินโดนีเซีย 6. บรูไน 2. มาเลเซีย ร่วมก่อตั้ง เรียกว่า 7. เวียดนาม3. ฟิลิปปินส์ “ปฏิญญากรุงเทพ”8. ลาว4. สิงคโปร์ 9. พม่า5. ไทย 10. กัมพูชา

เป้าหมายการจัดตั้งอาเซียน 7 ประการ

1. ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และความก้าวหน้าทางสังคม และวัฒนธรรม
2. ส่งเสริมการมีเสถียรภาพ สันติภาพ และความมั่นคงของภูมิภาค
3. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และด้านการบริหาร
4. ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการวิจัย
5. ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเกษตรกรรม และอุตสาหกรรม การค้า การคมนาคม การสื่อสาร และการปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิต
6. ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
7. ร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ

ทำไมจึงจำเป็นต้องสร้างเป็นประชาคมอาเซียน ?

ประเทศต่างๆ ให้ความสำคัญกับการรวมตัวกันในภูมิภาค เพื่อ
1. เพิ่มอำนาจต่อรองของประเทศสมาชิก
2. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับภูมิภาคอื่น

ประชาคมอาเซียน แบ่งออกเป็น 3 เสาหลัก ได้แก่

1. ประชาคมสังคม และวัฒนธรรมอาเซียน
2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
3. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน




สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ณ วันที่ 16 มิถุนายน 2554















ASEAN


กำเนิดอาเซียน

       อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งได้มีการลงนามที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วยนายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์) นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์) และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย)
      ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค.2527) เวียดนาม (วันที่ 28 ก.ค. 2538) สปป.ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกล่าสุด (วันที่ 30 เม.ย. 2542) ให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ
      วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งอาเซียน คือ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพเสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมการกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก
สัญลักษณ์ของอาเซียน คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลม สีขาวและสีน้ำเงิน
รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ
สีเหลือง  หมายถึง  ความเจริญรุ่งเรือง 
สีแดง  หมายถึง  ความกล้าหาญและการมีพลวัติ
สีขาว  หมายถึง  ความบริสุทธิ์ 
สีน้ำเงิน  หมายถึง  สันติภาพและความมั่นคง
กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)
         ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 เมื่อปี 2550 ที่ประเทศสิงค์โปร์ ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในกฎบัตร  อาเซียนซึ่งเปรียบเสมือนธรรมนูญของอาเซียนที่จะวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียน ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015) ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้ โดยวัตถุประสงค์ของกฎบัตรอาเซียน คือ ทำให้อาเซียนเป็นองค์การที่มีประสิทธิภาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเคารพกฎกติกาในการทำงานมากขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรจะให้สถานะนิติบุคคลแก่อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล (Intergovernmental Organization)
กฎบัตรอาเซียน ประกอบด้วยข้อบทต่าง ๆ 13 บท 55 ข้อ มีประเด็นใหม่ที่แสดงความก้าวหน้าของอาเซียน ได้แก่
 (1) การจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนของอาเซียน    
 (2) การให้อำนาจเลขาธิการอาเซียนสอดส่องและรายงานการทำตามความตกลงของรัฐสมาชิก     
(3) การจัดตั้งกลไกสำหรับการระงับข้อพิพาทต่าง ๆ ระหว่างประเทศสมาชิก     
(4) การให้ผู้นำเป็น ผู้ตัดสินว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อรัฐผู้ละเมิดพันธกรณีตามกฎบัตรฯ อย่างร้ายแรง     (5) การเปิดช่องให้ใช้วิธีการอื่นในการตัดสินใจได้หากไม่มีฉันทามติ     
(6) การส่งเสริมการปรึกษาหารือกันระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อแก้ไขปัญหาที่กระทบต่อผลประโยชน์ร่วม     (7) การเพิ่มบทบาทของประธานอาเซียนเพื่อให้อาเซียนสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที     
(8) การเปิดช่องทางให้อาเซียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรภาคประชาสังคมมากขึ้น และ     
(9) การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น ให้มีการประชุมสุดยอดอาเซียน 2 ครั้งต่อปี จัดตั้งคณะมนตรีเพื่อประสานความร่วมมือในแต่ละ 3 เสาหลัก และการมีคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน ที่กรุงจาการ์ตา เพื่อลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการประชุมของอาเซียน เป็นต้น
    กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2551 หลังจากที่ประเทศสมาชิกครบทั้ง 10 ประเทศ ได้ให้สัตยาบันกฎบัตร และการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2552 ที่จังหวัดเพชรบุรีเป็นการประชุมระดับผู้นำอาเซียนครั้งแรกหลังจากกฎบัตรมีผลบังคับใช้
 ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)
            ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยความร่วมมือ 3 เสาหลัก คือ 
        ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community–APSC)
        ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community–AEC)
         ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Cultural Community–ASCC)
1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
(ASEAN Political and Security Community – APSC)
           มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างและธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค เพื่อให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และสามารถแก้ไขปัญหาและความขัดแย้ง โดยสันติวิธี อาเซียนจึงได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community Blueprint) โดยเน้นใน 3 ประการ คือ
          1) การมีกฎเกณฑ์และค่านิยมร่วมกัน ครอบคลุมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะร่วมกันทำเพื่อสร้างความเข้าใจในระบบสังคมวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ที่แตกต่างของประเทศสมาชิก ส่งเสริมพัฒนาการทางการเมืองไปในทิศทางเดียวกัน เช่น หลักการประชาธิปไตย การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม การต่อต้านการทจริต การส่งเสริมหลักนิติธรรมและธรรมาภิบาล เป็นต้น
          2) ส่งเสริมความสงบสุขและรับผิดชอบร่วมกันในการรักษาความมั่นคงสำหรับประชาชนที่ครอบคลุมในทุกด้านครอบคลุมความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในรูปแบบเดิม มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและการระงับข้อพิพาท โดยสันติเพื่อป้องกันสงครามและให้ประเทศสมาชิกอาเซียนอยู่ด้วยกัน โดยสงบสุขและไม่มีความหวาดระแวง และขยายความร่วมมือเพื่อต่อต้านภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เช่น การต่อต้านการก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติต่าง ๆ เช่น ยาเสพติด การค้ามนุษย์ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันและจัดการภัยพิบัติและภัยธรรมชาติ
          3) การมีพลวัตและปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก เพื่อเสริมสร้างบทบาทของอาเซียนในความร่วมมือระดับภูมิภาค เช่น กรอบอาเซียน+3 กับจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ตลอดจนความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งกับมิตรประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ
2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
(ASEAN Political-Security Community-AEC)
          มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้อาเซียนมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกันและมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน  เงินทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี อาเซียนได้จัดทำแผนงาน การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Blueprint) ซึ่งเป็นแผนงานบูรณาการการดำเนินงานในด้านเศรษฐกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 4 ด้าน คือ
         1) การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base) โดยจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี และการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น
         2) การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน โดยให้ความสำคัญกับประเด็นนโยบายที่จะช่วยส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เช่น นโยบายการแข่งขัน การคุ้มครองผู้บริโภค สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายภาษี และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (การเงิน การขนส่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ และพลังงาน)
         3) การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค ให้มีการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการเสริมสร้างขีดความสามารถผ่านโครงการต่าง ๆ
         4) การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก เน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาคเพื่อให้อาเซียนมีท่าทีร่วมกันอย่างชัดเจน
3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน 
(ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC)
          อาเซียนได้ตั้งเป้าเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี 2558 โดยมุ่งหวังเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์อาเซียน (ASEAN Identity)
เพื่อรองรับการเป็นประชาคมสังคม และวัฒนธรรมอาเซียน โดยได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint)ซึ่งประกอบด้วยความร่วมมือใน 6 ด้าน ได้แก่
      1) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
      2) การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม
      3) สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม
      4) ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
      5) การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน
      6) การลดช่องว่างทางการพัฒนา
     ทั้งนี้โดยมีกลไกการดำเนินงาน ได้แก่ การประชุมรายสาขาระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส และระดับรัฐมนตรีและคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
สาระสำคัญของปฏิญญาชะอำ-หัวหิน ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือ
          ด้านการศึกษาเพื่อบรรลุประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปันปฏิญญาชะอำ-หัวหินว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาเพื่อบรรลุประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน  เน้นย้ำถึงบทบาทของการศึกษาในการสร้างประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558 อันประกอบด้วย 3 เสาหลัก ดังนี้
1. บทบาทของภาคการศึกษาในเสาการเมืองและความมั่นคง
          สนับสนุนความเข้าใจและความตระหนักรับรู้เรื่องกฎบัตรอาเซียนให้มากขึ้นโดยผ่านหลักสูตรอาเซียน ในโรงเรียนและเผยแพร่กฎบัตรอาเซียนที่แปลเป็นภาษาต่างๆ ของชาติ ในอาเซียนให้เน้นในหลักการแห่งประชาธิปไตยให้มากขึ้น เคารพในสิทธิมนุษยชนและค่านิยมในเรื่องแนวทางที่สันติภาพในหลักสูตรของโรงเรียนสนับสนุน ความเข้าใจและความตระหนักรับรู้ใน
ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ประเพณีและความเชื่อในภูมิภาคในหมู่อาจารย์ผ่านการฝึกอบรม โครงการแลกเปลี่ยน และการจัดตั้งข้อมูลพื้นฐานออนไลน์เกี่ยวกับเรื่องนี้จัดให้มีการประชุมผู้นำโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอในฐานะที่เป็นพื้นฐานสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อ
คิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นในภูมิภาคอาเซียนที่หลากหลาย การสร้างศักยภาพและเครือข่าย รวมทั้งยอมรับการดำรงอยู่ของเวทีโรงเรียน
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia School Principals’ Forum: SEA-SPF)
2. บทบาทของภาคการศึกษาในเสาเศรษฐกิจ
         พัฒนาพัฒนากรอบทักษะภายในประเทศของแต่ละประเทศสมาชิกเพื่อช่วยสนับสนุนการมุ่งไปสู่การจัดทำการยอมรับทักษะในอาเซียนสนับสนุนการขับเคลื่อนของนักเรียนนักศึกษาให้ดีขึ้นโดยการพัฒนาบัญชีรายการระดับภูมิภาคของอุปกรณ์สารนิเทศด้านการศึกษาที่ประเทศสมาชิกอาเซียนจัดหาได้สนับสนุนการเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมือในภูมิภาคอาเซียน โดยผ่านกลไกความร่วมมือในระดับภูมิภาคระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งจะต้องดำเนินควบคู่ไปกับความพยายามในการปกป้องและปรับปรุงมาตรฐานทางด้านการศึกษาและวิชาชีพพัฒนามาตรฐานด้านอาชีพบนพื้นฐานของความสามารถในภูมิภาคอาเซียนโดยมุ่งไปที่การสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก และเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรมโดยประสานกับกระบวนการกรอบการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านแรงงาน
3. บทบาทของภาคการศึกษาในเสาสังคมและวัฒนธรรม
         พัฒนาเนื้อหาสาระร่วมในเรื่องอาเซียนสำหรับโรงเรียนเพื่อใช้เป็นตัวอ้างอิงสำหรับการฝึกอบรมและการสอนของครูอาจารย์เสนอให้มีหลักสูตรปริญญาด้านศิลปวัฒนธรรมอาเซียนในมหาวิทยาลัยเสนอให้มีภาษาประจำชาติอาเซียน ให้เป็นภาษาต่างประเทศวิชาเลือกในโรงเรียนสนับสนุนโครงการระดับภูมิภาคที่มุ่งเน้นที่การส่งเสริมการตระหนักรับรู้เกี่ยวกับอาเซียนให้แก่เยาวชนรับรองการมีอยู่ของโครงการอื่นๆ เช่น การนำเที่ยวโรงเรียนอาเซียน โครงการแลกเปลี่ยนนักเรียนนักศึกษาอาเซียน การประชุมเยาวชนอาเซียนด้านวัฒนธรรม การประชุมสุดยอดเยาวชนนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยอาเซียน การประชุมเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน และการประกวดสุนทรพจน์ระดับเยาวชน สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตในประเทศสมาชิกอาเซียนโดยการสนับสนุนการศึกษาสำหรับ
ทุกคนจัดให้มีการประชุมวิจัยทางด้านการศึกษาอาเซียนเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางการวิจัยและพัฒนาในภูมิภาคให้เป็นเวทีสำหรับนักวิจัยจากประเทศสมาชิกเพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองในประเด็นและเรื่องที่เกี่ยวข้องของภูมิภาคสนับสนุนความเข้าใจและการตระหนักรับรู้ในประเด็นและเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคอาเซียนโดยการบูรณาการให้อยู่ในหลักสูตรในโรงเรียน และการมอบรางวัล
โรงเรียนสีเขียวอาเซียนเฉลิมฉลองวันอาเซียน (วันที่ 8 สิงหาคม)ในโรงเรียนโดยเฉพาะในเดือนสิงหาคมผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การร้องเพลงชาติอาเซียน การจัดการแข่งขันเรื่องประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอาเซียนการจัดแสดงเครื่องหมาย และสัญลักษณ์อื่นๆ ของอาเซียน การจัดค่ายเยาวชนอาเซียน เทศกาลเยาวชนอาเซียนและวันเด็กอาเซียนเห็นชอบที่จะเสนอในรัฐสมาชิกอาเซียน 
แบ่งปันทรัพยากรแก่กัน และพิจารณาการจัดตั้งกองทุนพัฒนาด้านการศึกษาของภูมิภาคเพื่อให้มั่นใจว่าจะได้รับการสนับสนุนทางการเงินอย่างเพียงพอในการปฏิบัติการต่าง ๆได้ตามที่ได้รับการเสนอแนะมามอบหมายให้ องค์กรระดับรัฐมนตรีรายสาขาของอาเซียนเกี่ยวข้องและเลขาธิการอาเซียนดำเนินการปฏิบัติตามปฏิญญานี้โดยการให้แนวทางและสนับสนุนแผน 5 ปีของอาเซียนว่าด้วยเรื่องการศึกษา
         รวมทั้งข้อตกลงในการควบคุมดูแลที่ได้รับการสนับสนุนโดยคณะกรรมการผู้แทนถาวรและรายงานต่อที่ประชุม สุดยอดอาเซียนเป็นประจำผ่านคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนทราบผลการคืบหน้าของการดำเนินการปฏิญาณว่าความมุ่งมั่นและข้อผูกพันของผู้นำอาเซียนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการศึกษาเพื่อให้เกิดประชาคมอาเซียนที่มีการเคลื่อนไหวประชาคมที่มีความเชื่อมโยงกันและประชาคมของประชาชนอาเซียนและเพื่อประชาชนอาเซียน
นโยบายกระทรวงศึกษาธิการในการดำเนินการด้านการศึกษาตามปฏิญญาชะอำ-หัวหิน ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาเพื่อบรรลุประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน
           จากการประชุมคณะกรรมการระดับชาติเพื่อขับเคลื่อนการศึกษาในอาเซียนสู่การบรรลุเป้าหมายการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในปี 2558 เมื่อวันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม 2553 ณ กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน และผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้แทนองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ผู้อำนวยการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนและผู้แทนกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบร่างนโยบายเพื่อดำเนินงานตามปฏิญญาชะอำ-หัวหินด้านการศึกษา จำนวน 5 นโยบาย ดังนี้
         นโยบายที่ 1 การเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และเจตคติที่ดีเกี่ยวกับอาเซียน เพื่อสร้างความตระหนักและเตรียมความพร้อมของครูคณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา และประชาชน เพื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558         นโยบายที่ 2  การพัฒนาศักยภาพของนักเรียน นักศึกษา และประชาชนให้มีทักษะที่เหมาะสมเพื่อเตรียมความพร้อมในการก้าวประชาคมอาเซียน เช่น ความรู้ภาษาอังกฤษ ภาษาเพื่อนบ้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะและความชำนาญการที่สอดคล้องกับการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรม และการเพิ่มโอกาสในการหางานทำของประชาชน รวมทั้งการพิจารณาแผนผลิตกำลังคน         นโยบายที่ 3  การพัฒนามาตรฐานการศึกษาเพื่อส่งเสริมการหมุนเวียนของนักศึกษาและครูอาจารย์ในอาเซียน รวมทั้งเพื่อให้มีการยอมรับในคุณสมบัติทางวิชาการร่วมกันในอาเซียน การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาต่าง ๆ และการแลกเปลี่ยนเยาวชน การพัฒนาระบบการศึกษาทางไกล ซึ่งช่วยสนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิต การส่งเสริมและปรับปรุงการศึกษาด้านอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมทางอาชีพ ทั้งในขั้นต้นและขั้นต่อเนื่อง ตลอดจนส่งเสริมและเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาของประเทศสมาชิกของอาเซียน         นโยบายที่ 4  การเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดเสรีการศึกษาในอาเซียนเพื่อรองรับการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนประกอบด้วย การจัดทำความตกลงยอมรับร่วมด้านการศึกษา การพัฒนาความสามารถ ประสบการณ์ในสาขาวิชาชีพสำคัญต่างๆ เพื่อรองรับการเปิดเสรีการศึกษาควบคู่กับการเปิดเสรีด้านการเคลื่อนย้ายแรงงาน
         นโยบายที่ 5  การพัฒนาเยาวชนเพื่อเป็นทรัพยากรสำคัญในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน

Asian origin.


       ASEAN, or the Association of Southeast Asian Nations (Association of South East AsianNations or ASEAN) was established by the Bangkok Declaration (Bangkok Declaration), which was signed at the palace Saranrom on August 8, 2510, by the Minister. The five founding members of foreign countries including Indonesia, Malaysia, Philippines, Singapore and Thailand, which consists of representatives of the five countries, Mr. Adam Malik (Indonesia Foreign Minister) Abdul seizures stocked fly Hussain (Deputy Prime Minister. Minister of Defence and Minister of National Development Malaysia) Mr. San Francisco Soria Ramos (Secretary of the Philippines), Mr. S. King Rat Blackburn (Minister of Singapore), and Colonel (Special) skill Khoman (. Foreign Minister).

      Later it countries. Join consist of Brunei Darussalam. (As on Jan 8, 2527), Vietnam (28 Jul 2538) Lao PDR. Burma (23 Jul 2540) and Cambodia is the latest (as of 30 April. a. 2,542) and now has 10 member countries of ASEAN.

      The purpose of ASEAN is to promote mutual understanding between the countries in the region. Maintain peace and stability. And political stability. Create economic growth. Development, social and cultural well-being of individuals on the basis of equality and mutual benefit of the members.

ASEAN's symbol is a yellow spike on red background surrounded by a circle. White and blue.

Spike from the 10 member states, 10 countries.

Yellow means prosperity.

Red stands for courage and the dynamics.

White represents purity.

Blue stands for peace and stability.

Charter (ASEAN Charter).

         The 13th ASEAN Summit in Singapore on the year 2550. ASEAN leaders signed the charter. ASEAN, ASEAN Charter, which equate to the legal framework and organizational structure to enhance ASEAN In the implementation of the objectives and goals. Particularly driven by the merger of the ASEAN Community by the year 2558 (AD 2015) by the ASEAN Leaders agreed. The objectives of the ASEAN Charter is a powerful organization. The population centers. And respect the rules of the Charter to the tax status of the ASEAN intergovernmental organization. (Intergovernmental Organization).

Charter. Consists of 13 chapters and chapter 55 deals with various issues such as the progress of ASEAN.

     (1) the establishment of an ASEAN human rights body.
     (2) monitor and report to the Secretary-General of ASEAN, agreed by the Member States.
     (3) to establish a mechanism for the settlement of disputes between the various countries.
     (4) to provide leadership. Decide how to proceed with the State's obligations under the Charter serious.
     (5) allows for the use of other methods in deciding if there is no consensus.
     (6) To promote consultation between the Member States in order to resolve problems that affect benefits.
     (7) the role of ASEAN for ASEAN to respond quickly to emergency situations.
     (8) provides a way for ASEAN to interact with civil society organizations and more.
     (9) the restructuring of the organization to be more effective, such as the ASEAN Council organized two times a year to coordinate the three pillars of the ASEAN Committee of Permanent Representatives. Jakarta. To reduce the time and expense of meetings of ASEAN etc.

    ASEAN charter comes into effect from December 15, 2551, after the end of the 10 member states have ratified the Charter. The 14th ASEAN Summit and during 28 February-1 March 2552 conference in Phetchaburi province is leading after the first ASEAN Charter came into force.

 ASEAN (ASEAN Community).

            ASEAN consists of three main pillars: cooperation.


        ASEAN Political-Security Community (ASEAN Political and Security Community-APSC).

        AEC (ASEAN Economic Community-AEC).
         Socio-Cultural Community (ASEAN Socio-Cultural Community-ASCC).

One. European Political-Security Community.

(ASEAN Political and Security Community - APSC).

           The purpose is to enhance and maintain the peace and stability of the region. Countries in the region to live together in peace. And can resolve conflicts by peaceful means and has prepared a plan for the establishment of the ASEAN Political-Security Community, ASEAN (ASEAN Political-Security Community Blueprint) by focusing on three objectives.

          1) the rules and shared values. Includes activities to do together to create an understanding of the sociocultural system. And history of different countries. Political development in the same direction as the principles of democracy. The promotion and protection of human rights. Support the participation of civil society. Resistance in mind. Government to promote the rule of law and good governance etc.

          2) to promote peace and security in the shared responsibility for the comprehensive in covering all sides to strengthen cooperation in its original form. Confidence-building measures and dispute settlement. Peace to prevent war and to the Member States together. Without peace and without fear. And expand cooperation to combat new threats such as terrorism. Transnational crimes such as drug trafficking, as well as the preparation to prevent and manage natural disasters.

          3) the dynamics and interaction with the outside world. To strengthen the role of ASEAN in regional cooperation frameworks such as ASEAN +3 with China, Japan, Republic of Korea (South Korea) and the East Asia Summit. As well as strong relationships with friendly countries. And international organizations such as the United Nations.

2. An ASEAN Economic Community.

(ASEAN Political-Security Community-AEC).

          Aims to make ASEAN market and production base, and with the flow of goods, services, investment, capital and skilled labor freely. ASEAN plan. The establishment of AEC (ASEAN Economic Community Blueprint), which is planned to integrate the operations of the economy is to achieve the objective 4.

         1) a single market and production base (single market and production base) by a flow of goods, services, investment and skilled labor freely. And capital flow more freely.

         2) building the capacity of the ASEAN economic competitiveness. To focus on policy issues that will promote economic integration, such as competition policy. Consumer protection. Intellectual property rights, tax policy and the development of infrastructure (transportation, finance, information technology, and energy).

         3) the development of economic equality. The development of small and medium enterprises. And to strengthen their capacity through various projects.

         4) integration into the global economy. Focused on the coordination of economic policies in the ASEAN region, the ASEAN common position clearly.

Three. ASEAN Socio-Cultural Community.

(ASEAN Socio-Cultural Community - ASCC).

          They target the ASEAN Socio-Cultural Community by 2558, ASEAN aims in a community that is people-centered. A caring and sharing society. Asian populations have better living conditions and development in all aspects in order to improve the quality of life of the people. Promote the sustainable use of natural resources. Identity and promote ASEAN (ASEAN Identity).
Devoted to the social community. And Asian cultures. Has prepared a plan for the establishment of the ASEAN Socio-Cultural Community (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint), which includes cooperation in six areas.

      1) Development of human resources.

      2) the protection and welfare.

      3) The rights and social justice.

      4) environmental sustainability.

      5) the creation of an ASEAN identity.

      6) To reduce the development gap.

     However, the mechanism of the implementation of the sector, including senior officials. And the Council of Ministers and the ASEAN Socio-Cultural Community.

The essence of mission-am - Hua Hin. With the strengthening of cooperation.

          Education to achieve an ASEAN community of caring and sharing mission-am - Hua Hin to strengthen cooperation with the international community to achieve an ASEAN caring and sharing. Emphasized the role of education in building the ASEAN Community by the year 2558, consisting of three main pillars.

One. Role of education in political and security pillar.

          Support, understanding and awareness about the Charter for the ASEAN through the course. Charter schools and published a translation of the nation in ASEAN to focus on the principles of democracy and more. Respect for human rights and values ​​in ways that support peace in the school curriculum. Understanding and awareness in
Cultural diversity. Regional traditions and beliefs among teachers trained. Exchange. And the establishment of basic information online about it, organize a regular meeting of the school as a basis for the exchange of ideas on various issues in the region. Capacity building and networking. Including the existence of the school.
Southeast Asia (Southeast Asia School Principals' Forum: SEA-SPF).

Two. Role of education in economic pillars.

         Development of skills within the framework of each country to help support towards the conduct of skill in the AEC sponsored by the student for the better by developing a regional list of device information in the study. Member States to support the supply of skilled labor mobility in the region. Through regional mechanisms for cooperation between the Member States, which will be conducted in parallel with efforts to protect and improve the standard of education and professional development of professional standards in the region on the basis of their ability to focus. to support the development of human resources to compete at the regional and global levels. And to meet the needs of the process industry by cooperating with the ASEAN Ministerial Meeting on the labor.

Three. Role of education in social and cultural pillars.

         Content development in ASEAN for the school to use as a reference for training and education of teachers offering courses in the arts and culture, University of ASEAN, ASEAN proposed a national language. As a foreign language courses in schools to support regional projects aimed at promoting awareness about ASEAN youth to ensure the existence of other projects, such as school trips Asia. ASEAN student exchange program. The ASEAN youth culture. A young college student ASEAN summit. The ASEAN University Network. Level and the youth speech contest. Support lifelong learning in the Member States by supporting education.
All meetings are held in order to promote research in the field of Asian Studies research and development cooperation in the region to provide a forum for researchers from Member States to exchange views on regional issues and matters related to the understanding and support. awareness of the issues and stories. On the environment in the region of integration in the school curriculum. And awards.
ASEAN, ASEAN green school celebration (August 8) in schools, especially in August through a variety of activities such as singing ASEAN. Competition showcasing the history and culture of the ASEAN. And other symbols of ASEAN for ASEAN Youth Camp. ASEAN Youth Day, ASEAN Youth Festival and would like to see offered in the Member States.
Share the same resource. And consider the establishment of a regional development fund education to ensure that they have adequate financial support to operations. It has been suggested that, as assigned. The relevant ASEAN Sectoral Ministerial Organization and the ASEAN Secretariat to fulfill this mission by providing guidance and support plans for five years of ASEAN's education.

         The agreement in the direction that is supported by the Committee of Permanent Representatives and report to the meeting. With ASEAN through the ASEAN Socio-Cultural Community Council informed of the progress of implementation of the commitments and obligations of the pledge that the leaders of ASEAN in strengthening education to achieve the ASEAN Community. the community is linked to the people and communities of ASEAN and the ASEAN.

These are the Ministry of Education to conduct the study in accordance with the Declaration of Cha-am - Hua Hin. The strengthening of cooperation in the study to achieve a caring and sharing ASEAN Community.

           Meeting of the National Committee for ASEAN-driven education in achieving the ASEAN Community in 2558 on Monday, August 23, 2553 at the Ministry of Education. The Minister of Education presided. The participants include The representatives of the Ministry of Education. Secretariat of the Council of Representatives. Director of the ASEAN University Network and the Department of ASEAN. Ministry of Foreign Affairs The meeting approved the draft policy for the implementation of the Declaration, Cha-am - Hua Hin education policy as follows: 5.

         These are the first published knowledge. Information. And a good attitude about ASEAN. To raise awareness and preparedness of the teacher staffing. And education to students and the public to step into the ASEAN Community by the year 2558.
         These are the two to develop the potential of students and people with the appropriate skills to prepare for ASEAN Community as an advanced knowledge of English. English neighbors. Information technology Skills and expertise to adapt and change with the industry. And increasing opportunities for people looking for work. Including the planned production capacity.
         Policy 3: Develop educational standards, to promote the circulation of students and teachers in ASEAN. As well as to the recognition of academic qualifications together in ASEAN. Promoting cooperation between educational institutions and youth exchanges. Development of distance education. That support lifelong learning. To promote and improve vocational education and professional training. In both upstream and continuity. As well as promote and enhance cooperation between institutions of member countries of ASEAN.
         These are the fourth to prepare for liberalization in the ASEAN for ASEAN Economic Community, a step to contain. The mutual recognition agreements in education. Development capabilities. Experience in various fields. To support the liberalization of education, coupled with the liberalization of the movement of labor.
         These are the five essential resources for the development of young people in moving towards the ASEAN Community.